ความขัดแย้ง เป็นสภาพการณ์หรือสถานการณ์ที่เป็นความแตกต่างที่บุคคล 2 คน หรือ มากกว่า แสดงพฤติกรรมเปิดเผยออกมาอย่างแตกต่างกัน สภาพการณ์เหล่านี้คือ ความขัดแย้ง ซึ่งอาจเกิดจากมีการรับรู้ในเป้าหมายที่แตกต่างกัน มีความเข้าใจผิดหรือไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ มีความต้องการที่แตกต่างกันหรือแย่งชิงในสิ่งเดียวกัน หรือต้องการความเท่าเทียมกันทั้งด้าน วัตถุประสงค์และคุณค่าเกิดความรู้สึกต้องการเอาชนะหรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามไม่พึงพอใจ สูญเสีย หรือถูกกดดันหรือเกิดความต้องการที่เหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง สถานการณ์เหล่านี้จะทำให้เกิดความ ตึงเครียดเพราะความไม่เห็นด้วยหรือไม่ตกลงด้วย และมีแนวโน้มทำให้แต่ละฝ่ายมีทิศทางที่ตรงข้าม บทสรุปของความขัดแย้งก็จะกลายเป็นแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเป็นหน่วยย่อยของสังคมที่ไม่ขึ้นตรงต่อกลุ่ม ใหญ่ทั้งในแง่ของความคิดและการปฏิบัติส่งผลกระทบเสียหายต่อสันติสุขของสังคม
ส 2.1 ม.๓/4 วิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในประเทศ และเสนอแนวคิดในการลดความขัดแย้ง
จุดประสงค์การเรียนรู้
- ด้านความรู้
- ด้านทักษะกระบวนการ
- ด้านคุณลักษณะคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- คุณลักษณะเฉพาะ
วิธีการวัด
- ตั้งคำถามนำและให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย
เครื่องมือวัด
- ใบกิจกรรม เรื่อง ลดความขัดแย้งและสร้างความสมานฉันท์
- ใบงานที่ 41 เรื่อง ลดความขัดแย้งและสร้างความสมานฉันท์
- แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11