สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

โคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้ง ๓ เรื่อง คือ โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ และโคลงสุภาษิตนฤทุม  นาการ และโคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ มีการใช้ภาษา

ที่มีความงามทางวรรณศิลป์ โดยมีการเล่นเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ให้เกิดความไพเราะ มีการใช้ภาพพจน์เพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตรภาพ นอกจากนี้ยังสะท้อนข้อคิดที่ควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติ

เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้ก็สามารถนำหลักคำสอนไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ด้านกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ได้ถูกต้อง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

          1. สรุปเนื้อหาจากวรรณคดีได้

          2. วิเคราะห์คุณค่าด้านแนวคิดและวรรณศิลป์จากวรรณคดีได้

ด้านทักษะกระบวนการ

  1. นำเสนอคุณค่าด้านแนวคิดและวรรณศิลป์จากวรรณคดีได้อย่างเหมาะสม

ด้านคุณลักษณะ

 - คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มุ่งมันในการทำงาน

2. รักความเป็นไทย

- คุณลักษณะเฉพาะ

1. เห็นคุณค่าวรรณคดี และลักษณะคำประพันธ์ไทย

2. รักความเป็นไทย

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- ตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบ

- การตรวจใบงานที่ 12 เรื่อง วิเคราะห์วรรณศิลป์จากโคลงสุภาษิต

เครื่องมือ

- คำถาม

- ใบงาน

- ใบความรู้

- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
ชั่วโมง โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
เรื่อง ชวนคิดจากบทประพันธ์ 25 ส.ค. 66 (มีใบงาน ใบความรู้)