สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ภาษาสันสกฤตได้รับเข้ามาใช้ในภาษาไทยผ่านความเชื่อ  ขนบธรรมเนียมประเพณี  พิธีกรรมต่าง ๆ จากศาสนาพราหมณ์ นอกจากนี้ภาษาสันสกฤตยังได้รับเข้ามาผ่านวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ มหาภารตะ   

ภาษาสันสกฤตมีหลักการสังเกตที่แตกต่างจากภาษาบาลี คือ จำนวนสระและพยัญชนะ  ไม่มีกฎตัวสะกดตัวตามที่แน่นอน  มักใช้คำควบกล้ำ  คำที่ใช้พยัญชนะ ฑ และคำที่ใช้ รร หากนักเรียนได้ศึกษา

หลักการสังเกตคำภาษาสันสกฤต  จะช่วยทำให้สามารถจำแนกได้ว่าคำศัพท์ที่ปรากฏใช้ในภาษาไทยคำใดเป็นภาษาสันสกฤต

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

  1. อธิบายที่มาของภาษาสันสกฤตในภาษาไทยได้
  2. บอกหลักการสังเกตคำภาษาสันสกฤตในภาษาไทยได้

ด้านทักษะกระบวนการ

1. วิเคราะห์ภาษาสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทยได้

ด้านคุณลักษณะ

- คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มุ่งมันในการทำงาน

2. รักความเป็นไทย

          - คุณลักษณะเฉพาะ (ของแต่ละวิชา)

1. มีความสามารถในการสื่อสาร

  2. มีความสามารถในการคิด

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

- ตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบ

- การตรวจใบงานที่ ๕ เรื่อง จำแนกคำที่มาจากภาษาสันสกฤต

- การตรวจใบงานที่ ๕ เรื่อง ภาษาสันสกฤต ตอนที่ ๒

เครื่องมือ

- คำถาม

- ใบงาน

- ใบความรู้

- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
ชั่วโมง โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
เรื่อง พินิจสารบาลี สันสกฤต (2) 10 ส.ค. 66 (มีใบงาน ใบความรู้)