สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ภายในเซลล์ของร่างกายมีทั้งกระบวนการสลายสารอาหารและการสังเคราะห์สารต่าง ๆ ทำให้เกิดสารหลายชนิดทั้งที่เป็นประโยชน์และเป็นของเสียที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

ของเสียที่ร่างกายจำเป็นต้องกำจัดออก เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แอมโมเนีย ยูเรีย และกรดยริก โดยมนุษย์กำจัดของเสียในร่างกายได้หลายทาง เช่น ปอดกำจัดแก๊ส

คาร์บอนไดออกไซด์โดยผ่านทางลมหายใจออกและไตกำจัดของเสียต่าง ๆ และน้ำส่วนเกินในรูปปัสสาวะ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 1.2 ม.2/5

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. ระบุอวัยวะในระบบขับถ่ายรวมทั้งบรรยายรูปร่าง ลักษณะ และหน้าที่

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การลงความเห็นจากข้อมูล นำข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะในระบบขับถ่ายมาอธิบายกลไกการขับถ่าย

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

1. การสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการออกแบบแผนภาพหรือไดอะแกรม รวมทั้งการนำเสนอแผนภาพหรือไดอะแกรม เกี่ยวกับกลไกการขับถ่าย

ด้านความรู้ โดยประเมินจาก

1. การตอบคำถามเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ และหน้าที่ของอวัยวะในระบบขับถ่าย

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก

1. การออกแบบ การนำเสนอ การอภิปรายแผนภาพหรือไดอะแกรม และการตอบคำถามโดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะในระบบขับถ่ายมาอธิบายกลไกการขับถ่ายได้อย่างถูกต้องและสมเหตุสมผล

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน โดยประเมินจาก

1. การสื่อสาร โดยให้ความคิดเห็นหรือแลกเปลี่ยนความรู้ในการออกแบบและการนำเสนอแผนภาพ หรือไดอะแกรมเกี่ยวกับกลไกการขับถ่ายได้ถูกต้องเหมาะสมและเข้าใจง่าย

การวัดผลและประเมินผล

เครื่องมือ

- ใบความรู้ที่ 1 โครงสร้างของระบบขับถ่าย

- ใบงานที่ 1 ไตทำงานอย่างไร

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ร่างกายมนุษย์
ชั่วโมง ร่างกายมนุษย์
เรื่อง การขับถ่าย (1) 17 ส.ค. 66 (มีใบงาน ใบความรู้)