สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การที่แก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศที่หายใจเข้าและหายใจออกมีปริมาณเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากร่างกายนำแก๊สออกซิเจนที่ได้จากการหายใจเข้าไป

ใช้ในกระบวนการสร้างพลังงานภายในเซลล์ ทำให้มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น การที่ร่างกายจะได้รับแก๊สออกซิเจนและกำจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต้องอาศัยกระบวนการที่เรียกว่า

การแลกเปลี่ยนแก๊ส (gas exchange) การแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น 2 บริเวณ คือ บริเวณถุงลมในปอดกับหลอดเลือดฝอยและระหว่างหลอดเลือดฝอยกับเซลล์

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 2.1 ม.2/4

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายกระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างถุงลมในปอดกับหลอดเลือดที่อยู่ล้อมรอบถุงลมฝอยและระหว่างหลอดเลือดฝอยกับเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย

ด้านความรู้ โดยประเมินจาก

1. การตอบคำถามและการอภิปรายเพื่ออธิบายเกี่ยวกับกระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างถุงลมในปอดกับหลอดเลือดฝอย และระหว่างหลอดเลือดฝอยกับเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย

การวัดผลและประเมินผล

เครื่องมือ

-ใบความรู้ที่ 1 การแลกเปลี่ยนแก๊ส

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ร่างกายมนุษย์
ชั่วโมง ร่างกายมนุษย์
เรื่อง การแลกเปลี่ยนแก๊สและความจุอากาศของปอด (1) 10 ส.ค. 66 (มีใบความรู้)