สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยจำเป็นต้องมีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารในชุมชนและบทบาทตาม
วิถีประชาธิปไตยในฐานะสมาชิกของชุมชน ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรือง อีกทั้งช่วยให้การอยู่ร่วมกัน
ในสังคมดำเนินไปได้อย่างสงบสุข เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยมีความมั่นคง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- นักเรียนสามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นจากประเด็นในการศึกษาชุมชนได้

ด้านทักษะกระบวนการ

- นักเรียนสามารถวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นจากประเด็นในการศึกษาชุมชนโดยใช้แผนผังก้างปลาได้

ด้านคุณลักษณะ

- นักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้

- นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน

  - นักเรียนเห็นคุณค่าในการปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ในฐานะพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- การตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบและมีส่วนร่วม

- การอธิบาย อภิปราย และการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนหรือโรงเรียนผ่านแผนผังก้างปลา

 เครื่องมือ

  - แบบประเมินผลการเรียนรู้ประจำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓๕

  - ใบงานที่ ๑๗ เรื่อง แผนผังก้างปลา วิเคราะห์ปัญหาชุมชน

- เกณฑ์คุณภาพการประเมิน (Rubric)

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
ชั่วโมง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
เรื่อง ห้องเรียนนักคิด พิชิตทำดีสู่ชุมชน (2) 11 ส.ค. 66 (มีใบงาน)