สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากสื่อต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน มีทั้งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และข้อมูลที่หลอกลวง ผู้รับข้อมูลต้องรู้จักใช้ข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ ตรวจสอบ ประเมินความถูกต้องของข้อมูล ทั้งในบทบาทของผู้รับข้อมูลและผู้เผยแพร่ข้อมูล

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล สามารถพิจารณาได้จากผู้เผยแพร่ หน่วยงานเจ้าของข้อมูล วันที่เผยแพร่ การอ้างอิงแหล่งข้อมูล

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 4.2 ป. 4/3    ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้ และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

ว 4.2 ป.4/5     ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม

จุดประสงค์

1. การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

2. ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

3 ใฝ่เรียนรู้

การวัดผลและประเมินผล

1 การตอบคำถามในแบบฝึกหัด

2 สังเกตทักษะทางการบวนการเทคโนโลยีขณะทำกิจกรรม

3 สังเกตคุณธรรมขณะทำกิจกรรม

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
ชั่วโมง การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
เรื่อง ข้อมูลน่าเชื่อถือ (4) 28 ก.ย. 66 (มีใบงาน)