สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

          การสร้างฟังก์ชันสามารถกำหนดให้มีการรับค่าพารามิเตอร์ (parameter) เพื่อนำไปใช้ในฟังก์ชันได้โดยสามารถกำหนดให้รับได้หลายค่า และเมื่อเรียกใช้งานฟังก์ชันจะต้องส่งค่าอาร์กิวเมนต์ (argument) ที่ต้องการไปให้ฟังก์ชัน จำนวนอาร์กิวเมนต์และพารามิเตอร์ที่กำหนดจะต้องเท่ากันและเป็นข้อมูลชนิดเดียวกันเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

อธิบายการใช้ตัวดำเนินการบลูลีนสำหรับตรวจสอบเงื่อนไข

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. วัดความรู้จากการปฏิบัติและตอบคำถามในใบกิจกรรม

2. วัดทักษะจากการสังเกตระหว่างทำกิจกรรม

3. วัดคุณลักษณะจากการสังเกตพฤติกรรมจากการร่วมทำกิจกรรม การถามตอบ อภิปรายกันภายในกลุ่ม หรือระหว่างกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การแสดงความคิดเห็น วิธีคิด เหตุผลการนำเสนอข้อมูล

4. วัดสมรรถนะ

- การแก้ปัญหา: ร่วมกันทำกิจกรรมโดยการวิเคราะห์ปัญหาและการออกแบบวิธีการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ในใบกิจกรรม

- การโปรแกรม: เขียนโปรแกรมแก้ปัญหาตามที่ออกแบบไว้ตามสถานการณ์ในใบกิจกรรม

- การสื่อสาร: ร่วมกันทำกิจกรรมโดยอภิปรายแสดงความคิดเห็น รับฟังความคิดเห็นและสร้างความเข้าใจตรงกันในการทำใบกิจกรรมจนสำเร็จ

- การรวมพลังทำงานเป็นทีม: ทำงานโดยแบ่งหน้าที่ตามศักยภาพของแต่ละคนและร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ มีความเป็นผู้นำและสมาชิกที่ดีในการเรียนรู้และร่วมกันวางแผน จนสามารถทำใบกิจกรรมได้สำเร็จ

เครื่องมือ

1. แบบประเมินด้านความรู้

2. แบบสังเกตพฤติกรรมด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาการคำนวณ
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเขียนโปรแกรม
ชั่วโมง การเขียนโปรแกรม
เรื่อง ตัวดำเนินการบูลีน (1) 9 ส.ค. 66 (มีใบกิจกรรม และใบความรู้)