สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

      การศึกษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทั้ง 6 สาขา คือ (1) วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา (2) ศิลปะการแสดง (3) แนวทางปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล (4) ความรู้และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล (5) งานช่างฝีมือดั้งเดิม และ (6) การเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เพื่อนำตัวอย่างมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดังกล่าว จัดกิจกรรมนำเสนอเพื่อจุดประกายแนวคิดการนำภูมิปัญญามาสร้างอาชีพต่อไปในอนาคต                 

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ง 1.1 ม. 2/1 ใช้ทักษะการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาการทำงาน

ง 1.1 ม. 2/2 ใช้ทักษะการะบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน

ง  1.1  ม. 2/3  มีจิตสำนึกในการทำงานและใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า

ง  1.1  ม. 2/3  มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพที่สนใจ

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. นักเรียนสามารถบอกลักษณะของมรดกภูมิปัญญามาเป็นแนวคิดสร้างอาชีพได้

ด้านทักษะกระบวนการ

1. นักเรียนสามารถใช้ทักษะการทำงานเป็นทีมเพื่อคิดออกแบบจากมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม   เพื่อสร้างอาชีพได้

2. นักเรียนสามารถใช้ทักษะการทำงานเป็นทีมเพื่อนำเสนอกิจกรรมจากมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างอาชีพของกลุ่มให้ผู้อื่นเข้าใจได้

3. นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สื่อสารกับเพื่อนในชั้นเรียนได้

ด้านคุณลักษณะ

- คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. นักเรียนมีวินัย (เข้าเรียนตรงเวลา)

2. นักเรียนใฝ่เรียนรู้ (ตั้งใจค้นคว้าหาข้อมูลในการทำกิจกรรม)

3. นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน (ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำงานอย่างเรียบร้อย)

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. การนำเสนอกิจกรรมหยิบจับภูมิปัญญา สร้างอาชีพ

2. การสังเกตพฤติกรรมจากการตอบคำถามในใบงานที่ 1 กิจกรรม“หยิบจับภูมิปัญญา สร้างอาชีพ”

3. การสังเกตพฤติกรรมจากการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน

เครื่องมือ

1. แบบประเมินพฤติกรรมในชั้นเรียน

2. แบบประเมินการนำเสนอกิจกรรม “หยิบจับภูมิปัญญา สร้างอาชีพ

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ การงานอาชีพ
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ภูมิปัญญาสร้างอาชีพ
ชั่วโมง ภูมิปัญญาสร้างอาชีพ
เรื่อง การนำเสนอ หยิบจับภูมิปัญญา มาสร้างอาชีพ 1 พ.ค. 66 (มีใบกิจกรรม และใบความรู้)