การคัดลายมือเป็นการฝึกเขียนตัวอักษรไทยให้ถูกต้องตามหลักการเขียนคำไทย ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความถูกต้องของตัวอักษรไทย
เขียนให้อ่านง่าย มีช่องไฟ มีวรรคตอน ตัวอักษรเสมอกันวางพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ให้ถูกที่ ตัวสะกดการันต์ถูกต้อง และลายมือสวยงาม
ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
- บอกหลักของการคัดลายมือได้
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
- คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดได้ถูกต้อง
ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)
- เห็นความสำคัญของการคัดลายมือให้สวยงาม
ประเด็น การประเมิน |
ระดับคะแนน |
|||
๔ |
๓ |
๒ |
๑ |
|
๑. รูปแบบตัวอักษร
|
คัดลายมือ ตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด ตามรูปแบบที่กำหนดทั้งหมด |
คัดลายมือ ตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด คัดตามรูปแบบที่กำหนดบางส่วนบกพร่อง |
คัดลายมือ ตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด คัดตามรูปแบบที่กำหนดบกพร่องเป็นส่วนใหญ่ |
คัดลายมือ ตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด ไม่ถูกต้องตามแบบที่กำหนด |
๒. การเขียนคำและวรรคตอน |
เขียนคำและเว้นวรรคตอนถูกต้องทุกคำ |
เขียนคำและเว้นวรรคตอนถูกต้อง เป็นส่วนใหญ่ |
เขียนคำและเว้นวรรคตอนถูกต้อง เป็นส่วนน้อย |
เขียนคำและเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้องเป็นจำนวนมาก |
๓. ความสะอาด เป็นระเบียบ |
ตัวอักษรสม่ำเสมอ เรียบร้อย สวยงามผลงานสะอาด ไม่มีรอยลบขีดฆ่า |
ตัวอักษรสม่ำเสมอ เรียบร้อยสวยงาม ผลงานสะอาด มีรอยลบขีดฆ่า ๑-๒ แห่ง |
ตัวอักษรไม่ค่อยสม่ำเสมอ ผลงาน ไม่สะอาด มีรอยลบขีดฆ่า ๓-๕ แห่ง |
ตัวอักษรไม่สม่ำเสมอ มีรอยลบขีดฆ่ามากกว่า ๖ แห่ง |
๔. เวลา |
ส่งงานตามเวลาที่กำหนด |
ส่งงานหลังเวลาที่กำหนดเล็กน้อย |
ส่งงานหลังเวลาที่กำหนดปานกลาง |
ไม่ส่งงานตามเวลาที่กำหนด |
๕. มารยาท ในการเขียน |
มีสมาธิ และมีความตั้งใจในการเขียนอย่างสม่ำเสมอ ไม่พูด คุย เล่น ระหว่างทำงาน |
มีความตั้งใจ ในการเขียนอย่างสม่ำเสมอ ไม่พูด คุย เล่น ระหว่างทำงาน |
มีความตั้งใจ ในการเขียนพอสมควร พูด คุย เล่น ระหว่างทำงานเป็นบางครั้ง |
ไม่มีความตั้งใจ ในการเขียน พูด คุย เล่น ระหว่างทำงาน ตลอดเวลา ต้องคอยตักเตือน |
เกณฑ์การประเมิน คะแนน ๑๖ - ๒๐ หมายถึง ดีมาก
คะแนน ๑๑ - ๑๕ หมายถึง ดี
คะแนน ๖ - ๑๐ หมายถึง พอใช้
คะแนน ๑ - ๕ หมายถึง ปรับปรุง
เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับ ดี ขึ้นไป