สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ท้องฟ้ามีลักษณะคล้ายครึ่งทรงกลมที่ครอบตัวผู้สังเกต โดยแนวเส้นที่บรรจบกันระหว่างท้องฟ้าและพื้นน้ำหรือพื้นดิน เรียกว่า เส้นขอบฟ้า ส่วนบริเวณที่สูงขึ้นไปตรงกับศีรษะของผู้สังเกต เรียก จุดเหนือศีรษะ ซึ่งทั้งเส้นขอบฟ้าและจุดเหนือศีรษะเป็นตำแหน่งสมมติ ช่วยในการระบุตำแหน่งของกลุ่มดาวโดยใช้ค่ามุมทิศและมุมเงย  ผู้สังเกตสามารถใช้มือในการประมาณค่าของมุมเงยและใช้แผนที่ดาวเป็นเครื่องมือช่วยในการสังเกตกลุ่มดาวฤกษ์ในท้องฟ้า

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด ว 3.1 ป.5/2 ใช้แผนที่ดาวระบุตำแหน่งและเส้นทางการขึ้นและตกของกลุ่มดาวฤกษ์บนท้องฟ้าและอธิบายแบบรูปเส้นทางการขึ้นและตกของกลุ่มดาวฤกษ์บนท้องฟ้าในรอบปี

จุดประสงค์การเรียนรู้

1 อธิบายเกี่ยวกับท้องฟ้า มุมทิศและมุมเงย และการใช้แผนที่ดาว

            2 การสังเกตส่วนประกอบของแผนที่ดาวและการลงความเห็นจากข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งสมมติบนท้องฟ้า มุมทิศ และมุมเงย   และการใช้แผนที่ดาว

            3 มีวินัย ใฝ่เรียนรู้และความมุ่งมั่นอดทน

การวัดผลและประเมินผล

      1. สังเกตการตอบคำถามในชั้นเรียนและเนื้อหาในใบงาน

      2. สังเกตทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในขณะทำกิจกรรม

      3. สังเกตด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 7 ดาว
ชั่วโมง หน่วยย่อยที่ 1 ดาว และการขึ้นและตกของดาว
เรื่อง การขึ้นและตกของดาวและการใช้แผนที่ดาว (2) 8 มี.ค. 66 (มีใบงาน ใบความรู้)