สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

เครื่องหมายวรรคตอน เป็น เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเขียนอักษรในภาษาหนึ่ง ๆ เพื่อประโยชน์ในการแบ่งวรรคตอน มักจะไม่เกี่ยวกับระบบเสียงใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งในแต่ละภาษาจะมีเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ กัน และมีกฎเกณฑ์การใช้ต่าง ๆ กัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

                    - บอกความหมายของเครื่องหมายได้

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

                    - เขียนเครื่องหมายในภาษาไทยได้

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

                    - มีมารยาทในการเขียน

การวัดผลและประเมินผล

ใบงานที่ 3 เรื่อง เขียนเครื่องหมายในภาษาไทย

ประเด็น

การประเมิน

ระดับคุณภาพ

4 (ดีมาก)

3 (ดี)

2 (พอใช้)

1 (ปรับปรุง)

1. ความถูกต้องของเนื้อหา

เขียนเครื่องหมายในภาษาไทยถูกต้องทุกข้อ

เขียนเครื่องหมายในภาษาไทยถูกต้อง

8-9 ข้อ

เขียนเครื่องหมายในภาษาไทยถูกต้อง

6-7 ข้อ

เขียนเครื่องหมายในภาษาไทยถูกต้อง

น้อยกว่า 6 ข้อ

2. ลายมือตัวบรรจง

เขียนลายมือสวยงาม   มีหัว เว้นระยะห่าง

เขียนลายมือ มีหัว     สม่ำเสมอเป็นส่วนใหญ่ 

เว้นระยะห่างไม่เท่ากัน

เขียนลายมือ มีหัว     ไม่ค่อยสม่ำเสมอ 

เว้นระยะห่างไม่เท่ากัน

เขียนลายมือ ไม่มีหัว     ไม่สม่ำเสมอ 

ไม่เว้นระยะห่าง

3. ความสะอาด

ไม่มีรอยลบคำผิด

มีรอยลบคำผิด 1 จุด

มีรอยลบคำผิด

 2-3 จุด

มีรอยลบคำผิด

มากกว่า 4 จุด

4. ความสวยงาม

ตกแต่ง ระบายสีสวยงาม

 

 

ไม่ตกแต่ง ไม่ระบายสี

 

เกณฑ์การตัดสิน

          คะแนน           13-16   คะแนน         หมายถึง          ดีมาก

          คะแนน           9-12     คะแนน         หมายถึง          ดี

          คะแนน           4-8       คะแนน         หมายถึง          พอใช้

          ต่ำกว่า            4          คะแนน         หมายถึง          ปรับปรุง

เกณฑ์การผ่าน

         ตั้งแต่ระดับ พอใช้ ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2565 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ ๗ สัญลักษณ์ และประโยคน่ารู้
ชั่วโมง สัญลักษณ์ และประโยคน่ารู้
เรื่อง เครื่องหมายในภาษาไทย 19 ส.ค. 65 (มีใบงาน ใบความรู้)