วรรณยุกต์ เป็นเครื่องหมายที่ใช้กำกับคำเพื่อให้มีระดับเสียงต่างกันจากภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ เพื่อให้คำมีความหมายมากขึ้น ช่วยบอกระดับของเสียงให้เห็นชัดเจนอยู่บนตัวอักษรที่แตกต่างจากภาษาของชาติอื่น ๆ
ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
- บอกหลักการผันวรรณยุกต์พยัญชนะอักษรกลางได้
ทักษะ/กระบวนการ (P)
- อ่านผันวรรณยุกต์พยัญชนะอักษรกลางได้
ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)
- เห็นความสำคัญของการผันวรรณยุกต์ได้ถูกต้อง
ประเด็นประเมิน |
วิธีการ |
เครื่องมือ |
เกณฑ์การประเมิน |
ความรู้ - บอกหลักการผันวรรณยุกต์พยัญชนะอักษรกลางได้ |
-ประเมินการผันวรรณยุกต์ |
-แบบประเมินการผันวรรณยุกต์ |
ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป |
ทักษะและกระบวนการ - อ่านผันวรรณยุกต์พยัญชนะอักษรกลางได้
|
-การทำใบงานที่ ๓ เรื่อง เขียนรูปวรรณยุกต์ในคำที่พยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง |
แบบประเมินการทำใบงานที่ ๓ เรื่อง เขียนรูปวรรณยุกต์ในคำที่พยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง |
ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป |
คุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม -นักเรียนตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย |
-การถาม-ตอบ |
- แบบประเมิน การถาม-ตอบ |
ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป |
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๑. ใฝ่เรียนรู้ ๒. มุ่งมั่นในการทำงาน |
-การสังเกตพฤติกรรม |
-แบบสังเกตพฤติกรรม |
เกณฑ์การประเมิน ระดับคุณภาพ ผ่าน |
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๑. ความสามารถในการสื่อสาร ๒. ความสามารถในการคิด |
-การประเมินความสามารถใน การสื่อสาร -การประเมินความสามารถในการคิด |
-แบบประเมินความสามารถในการสื่อสาร -แบบประเมินความสามารถในการคิด |
เกณฑ์การประเมิน ระดับคุณภาพ ผ่าน |