สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ตัวอักษรเป็นตัวแทนการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ตรงกันแทนการใช้คำพูด และยังเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญเป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนาคนในชาติให้เกิดความเข้าใจแสวงหาความรู้และความมีเหตุผลเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

                    - บอกชื่อพยัญชนะไทยได้

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

                    - อ่านและเขียนพยัญชนะไทยได้

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

                   - เห็นความสำคัญของการอ่านและเขียนพยัญชนะไทย

การวัดผลและประเมินผล

ประเด็นการประเมิน

ระดับคุณภาพ

4 (ดีมาก)

3 (ดี)

2 (พอใช้)

1 (ปรับปรุง)

1. การอ่านพยัญชนะไทย

 

 

 

อ่านออกเสียงพยัญชนะได้ถูกต้องชัดเจน

อ่านออกเสียงพยัญชนะได้ถูกต้องชัดเจน มีส่วนน้อยที่ออกเสียงไม่ชัด

สามารถอ่านออกเสียงพยัญชนะ ได้ถูกต้อง ชัดเจน แต่ค่อนข้างช้า

อ่านออกเสียงพยัญชนะได้บ้าง น้ำเสียงเบา อ่านไม่ชัดเจน และอ่านช้า

2. การเขียนพยัญชนะไทย

เขียนพยัญชนะได้ถูกต้อง ตัวอักษร คมชัด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาด

เขียนพยัญชนะได้ถูกต้อง ตัวอักษร คมชัด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ไม่สะอาด

เขียนพยัญชนะผิดบ้าง ตัวอักษร คมชัด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ไม่สะอาดมาก

เขียนพยัญชนะผิดมาก ตัวอักษรไม่คมชัด ไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และไม่สะอาด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เกณฑ์การตัดสิน

               คะแนน       18 - 20       หมายถึง          ดีมาก

               คะแนน       15 - 17        หมายถึง          ดี

               คะแนน       12 - 14        หมายถึง          พอใช้

               ต่ำกว่า        12              หมายถึง          ปรับปรุง

เกณฑ์การผ่าน

               ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 60 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2565 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ ๑ ฉันรักโรงเรียน
ชั่วโมง ฉันรักโรงเรียน
เรื่อง เรียนรู้พยัญชนะ 18 พ.ค. 65 (มีใบงาน ใบความรู้ )