สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

     การศึกษาประวัติของศาสดา โดยใช้การวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลนั้น ทำให้ได้ข้อคิดที่สำคัญซึ่งสามารถเตือนสติและเป็นหลักในการประพฤติในสังคมได้อย่างเหมาะสม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

     ส 1.1 ม.2/5 วิเคราะห์พุทธ-ประวัติ หรือประวัติศาสดาของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด

     ส 1.1 ม.2/6 วิเคราะห์และประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดก/เรื่องเล่าและศาสนิกชน ตัวอย่างตามที่กำหนด

 จุดประสงค์การเรียนรู้

           ด้านความรู้

     1.  นักเรียนอธิบายพุทธประวัติ ตอนการตรัสรู้ได้ถูกต้อง

     ด้านทักษะและกระบวนการ

     2.  นักเรียนวิเคราะห์ข้อคิดสำคัญจากพุทธประวัติ ตอนตรัสรู้ได้อย่างสมเหตุสมผล

     ด้านคุณลักษณะ

     3.  นักเรียนยกตัวอย่างแนวทางการนำข้อคิดจากพุทธประวัติ ตอนการตรัสรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

การวัดผลและประเมินผล

- คำถาม

- วีดิทัศน์ เรื่อง พระพุทธเจ้า ตอนตรัสรู้

- ใบงานที่ 2 เรื่องพุทธ-ประวัติ ตอนการตรัสรู้

- แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

- กิจกรรม “ฉันคือพุทธศาสนิกชนที่ดี”

- แบบสังเกตพฤติกรรม

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พุทธประวัติ พุทธสาวก พุทธสาวิกา ศาสนิกชนตัวอย่าง และชาดก
ชั่วโมง พุทธประวัติ ตอนการตรัสรู้
เรื่อง พุทธประวัติ ตอนการตรัสรู้ 16 มิ.ย. 64 (มีวีดิโอและใบงานประกอบการสอน)