This is a modal window.
สระเอาะ เป็นสระเสียงสั้น เมื่อไม่มีตัวสะกด รูป เ− จะเขียนไว้หน้าพยัญชนะต้น รูป −า เขียนไว้หลังพยัญชนะต้น และรูป −ะ เขียนไว้หลังสระอา เมื่อมีตัวสะกดจะเปลี่ยนรูปสระเอาะ เป็น -็ (ไม้ไต่คู้) เขียนไว้บนพยัญชนะต้น รูป อ เขียนไว้หลังพยัญชนะต้น การฝึกอ่านและเขียนคำที่ใช้สระเอาะอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้
ใช้คำสระเอาะได้ถูกต้อง
1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
- บอกลักษณะของสระเอาะได้ถูกต้อง
2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
1) เขียนรูปสระเอาะได้ถูกต้อง
2) อ่านคำสระเอาะได้ถูกต้อง
3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)
- มารยาทในการเขียน
การประเมินผล
สิ่งที่ต้องการวัด/ประเมิน |
วิธีการ |
เครื่องมือ |
เกณฑ์การประเมิน |
---|---|---|---|
ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K) - บอกลักษณะของสระเอาะ ได้ถูกต้อง |
- ประเมิน (เ-าะ) |
- แบบประเมิน (เ-าะ) |
ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ร้อยละ 60 ขึ้นไป |
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) 1. เขียนรูปสระเอาะได้ถูกต้อง 2. อ่านคำสระเอาะได้ถูกต้อง
|
- ประเมิน (เ-าะ) |
- แบบประเมิน (เ-าะ) |
ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ร้อยละ 60 ขึ้นไป |
คุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A) - มารยาทในการเขียน |
- การสังเกตพฤติกรรม |
- สังเกตพฤติกรรม |
ผ่านเกณฑ์ ระดับคุณภาพ “ผ่าน” |
สมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน - ความสามารถในการเขียนคำ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติตามหน้าที่ ของตนเองที่ได้รับมอบหมายได้บรรลุผลสำเร็จตามข้อตกลง (1.1) |
- การประเมินความสามารถ ในการคิด
|
- ประเมินความสามารถ ในการคิด |
ผ่านเกณฑ์ ระดับคุณภาพ “ผ่าน” |
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. ใฝ่เรียนรู้ 2. มุ่งมั่นในการทำงาน |
- การสังเกตพฤติกรรม |
- แบบสังเกตพฤติกรรม |
ผ่านเกณฑ์ ระดับคุณภาพ “ผ่าน” |