ระบบนิเวศป่าทั้ง 3 แห่ง มีองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตแตกต่างกันส่งผลให้พบสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศป่า ทั้ง 3 แห่ง แตกต่างกัน ถ้าจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตมาก แสดงว่าระบบนิเวศนั้นมีความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิตสูง และเมื่อเปรียบเทียบความหลากหลายของชนิดพืชที่พบในระบบนิเวศทั้ง 3 แห่ง พบว่าระบบนิเวศป่าดิบเขามีความหลากหลายของชนิดพืชสูงที่สุด รองลงมาเป็นป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ตามลำดับ
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
- เปรียบเทียบและอธิบายความหลากหลายทางชีวภาพในระดับชนิดของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศต่าง ๆ
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
- การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลระบบนิเวศป่าชนิดต่าง ๆ มาอภิปรายถึงความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้น ๆ
วิธีการ
1. การบันทึกผลการทำกิจกรรม การตอบคำถามท้ายกิจกรรมและการอภิปราย เพื่อเปรียบเทียบความหลากหลายทางชีวภาพในระดับชนิดของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศต่าง ๆ
2. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำ ถามเกี่ยวกับความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศต่าง ๆ โดยใช้ข้อมูลที่กำหนดให้
เครื่องมือ
1. ใบกิจกรรมที่ 1 ชนิดของสิ่งมีชีวิตในแต่ละระบบนิเวศแตกต่างกันอย่างไร
2. ใบงานที่ 1 ชนิดของสิ่งมีชีวิตในแต่ละระบบนิเวศแตกต่างกันอย่างไร