สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

สารพิษจะสะสมในสิ่งมีชีวิตเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับขั้นตอนการบริโภคในโซ่อาหาร เพราะผู้บริโภคลำดับที่สูงกว่าจะต้องกินผู้ผลิตหรือผู้บริโภคลำดับที่ต่ำกว่าในปริมาณมาก

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายการสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิตในโซ่อาหาร

- บอกความแตกต่างระหว่างการสะสมสารพิษและการสะสมพลังงานของสิ่งมีชีวิตในโซ่อาหาร

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          - ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน โดยพยายามค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการทำกิจกรรมบทบาทสมมติและอ่านใบความรู้เพิ่มเติมเพื่อใช้สนับสนุนการอธิบายเกี่ยวกับการสะสมสารพิษใน

ผู้บริโภคลำดับต่าง ๆ ที่ตนสงสัย

          ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

          - การสื่อสาร โดยการนำเสนอผลการทำกิจกรรมบทบาทสมมติการได้รับและการสะสมสารพิษของสิ่งมีชีวิตในแต่ละลำดับขั้นของการบริโภค

          - การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยใช้ความรู้เรื่องการสะสมสารพิษในโซ่อาหารมาอธิบายการสะสมสารปรอทและแคดเมียมในหูฉลาม

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

1. บันทึกผลและตอบคำถามท้ายกิจกรรมในใบงานที่ 1 การสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิตในโซ่อาหาร

2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน จากการสังเกตพฤติกรรมการพยายามค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการทำกิจกรรมบทบาทสมมติและการศึกษาเพิ่มเติมจากใบความรู้เพื่อใช้สนับสนุนการอธิบายเกี่ยวกับการสะสมสารพิษในผู้บริโภคลำดับต่างๆ ที่ตนสงสัย

3. การสื่อสาร จากการนำเสนอและอภิปรายผลการทำกิจกรรมบทบาทสมมติการได้รับและการสะสมสารพิษของสิ่งมีชีวิตในแต่ละลำดับขั้นของการบริโภคให้ผู้อื่นเข้าใจโดยใช้สื่อวิธีการ และกลยุทธ์ในการสื่อสาร

4. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการอภิปราย และตอบคำถามเกี่ยวกับสารปรอท และแคดเมียม ซึ่งเป็นสารพิษที่มีปริมาณมากในหูฉลาม

 เครื่องมือ

1. ใบกิจกรรมที่ 1 การสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร

2. ใบงานที่ 1 การสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
ชั่วโมง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
เรื่อง การสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิต (2) วันที่ 14 มี.ค. 68 (มีใบงาน ใบกิจกรรม)