สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

เมื่อผสมสารละลายกรดกับสารละลายเบส ทำให้ได้สารละลายที่มีระดับความเป็นกรด-เบสอยู่ระหว่าง
สารละลายกรดและสารละลายเบสตั้งต้น และตัวอย่างการนำความรู้เรื่องปฏิกิริยาเคมีของกรดกับเบสไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ในกรณีที่กระเพาะอาหารมีกรดในปริมาณมากเกินไป ต้องกินยาลดกรดซึ่งมีสมบัติเป็นเบสเพื่อช่วยทำปฏิกิริยากับกรด ทำให้ความเป็นกรดในกระเพาะอาหารลดลง ในกรณีของดินเปรี้ยว ซึ่งเป็นดินที่มีความเป็นกรดมากเกินไปไม่เหมาะกับการเพาะปลูก การเติมปูนขาวที่มีสมบัติเป็นเบสจะช่วยลดความเป็นกรดในดิน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

อธิบายการเกิดปฏิกิริยาของกรดกับเบส โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

  1. การจำแนกประเภท โดยใช้สมบัติความเป็นกรด-เบสของสารเป็นเกณฑ์ในการจำแนก
  2. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายการเปลี่ยนสีของสีน้ำดอกอัญชัน จากนั้นสรุปสมบัติความเป็นกรด-เบสของสาร

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

 1. การสังเกต โดยใช้ประสาทสัมผัสสังเกตผลการเปลี่ยนแปลงของสาร

2. การจำแนกประเภท โดยใช้สมบัติความเป็นกรด-เบสของสารเป็นเกณฑ์ในการจำแนก

            3. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายการเปลี่ยนสีของสีน้ำดอกอัญชัน
เครื่องมือ

          1. ใบความรู้ที่ 1 ปฏิกิริยาของกรดกับเบส

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
ชั่วโมง การเกิดปฏิกิริยาเคมี
เรื่อง ปฏิกิริยาของกรดกับเบส (2) วันที่ 24 ม.ค. 68 (มีใบความรู้)