สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

- พอลิเมอร์ส่วนใหญ่ไม่นำไฟฟ้า มีความเหนียว บางชนิดมีสภาพยืดหยุ่นสูง บางชนิดได้รับความร้อนแล้วเปลี่ยนแปลง พลาสติกนิยมนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ยางนิยมนำมาทำของใช้ที่ต้องการความยืดหยุ่นสูง และ

เส้นใยนิยมนำมาทำเครื่องนุ่งห่ม

- เซรามิกส่วนใหญ่แข็งแต่เปราะ ทนต่อการสึกกร่อนได้ดีกว่าพอลิเมอร์และโลหะ มีจุดหลอมเหลวสูง ไม่นำความร้อนและไม่นำไฟฟ้า ทนความร้อนได้ดีเมื่อได้รับความร้อนแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง จากสมบัติทางกายภาพดังกล่าว จึงนิยมนำเซรามิกมาทำภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องประดับตกแต่งบ้าน

- โลหะส่วนใหญ่มีสมบัติแข็ง เหนียว ตีให้เป็นแผ่นหรือยืดเป็นเส้นได้ นำความร้อน และนำไฟฟ้าได้ดีกว่าพอลิเมอร์และเซรามิก มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง จากสมบัติทางกายภาพดังกล่าวจึงนิยมนำโลหะมาทำเครื่องใช้ที่ทนความร้อน นำความร้อนหรือนำไฟฟ้าได้ดี เช่น ภาชนะหุงต้ม ลวดทองแดงในสายไฟฟ้าๆ ด้วย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายสมบัติทางกายภาพของวัสดุประเภทพอลิเมอร์ เซรามิก และโลหะ

            - ยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากวัสดุประเภทพอลิเมอร์ เซรามิก และโลหะ

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          - การจำแนกประเภท โดยจำแนกและจัดกลุ่มสิ่งของเป็นพอลิเมอร์ เซรามิก และโลหะ

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

          1. การตอบคำถามในใบงาน และการนำเสนอผลการทำกิจกรรม เพื่ออธิบายสมบัติทางกายภาพของวัสดุประเภทพอลิเมอร์ เซรามิก และโลหะ

          2. การตอบคำถามในใบงาน เพื่ออธิบายการใช้ประโยชน์จากวัสดุประเภทพอลิเมอร์ เซรามิก และโลหะ  

 เครื่องมือ

          - ใบความรู้ที่ 1 สมบัติทางกายภาพและการใช้ประโยชน์จากวัสดุประเภทต่าง ๆ

           - ใบงานที่ 2 สมบัติทางกายภาพและการใช้ประโยชน์จากวัสดุประเภทต่าง ๆ

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
ชั่วโมง วัสดุในชีวิตประจำวัน
เรื่อง พอลิเมอร์ เซรามิก และโลหะ (2) วันที่ 24 ธ.ค. 67 (มีใบงาน ใบความรู้)