สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แต่ละชิ้นส่วนมีหน้าที่แตกต่างกันสามารถนำมาต่อกันเพื่อให้วงจรไฟฟ้าทำงานได้ตามความต้องการ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายหน้าที่ของตัวต้านทาน ไดโอด ตัวเก็บประจุ และทรานซิสเตอร์ในวงจรไฟฟ้า

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          - การสร้างแบบจำลอง โดยเขียนแผนภาพแสดงการต่อตัวต้านทาน ไดโอด ตัวเก็บประจุ และทรานซิสเตอร์ในวงจรไฟฟ้า

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          - ความมุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำ ไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป

          ข้อสรุปสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

          - การจัดการตนเอง โดยระบุเป้าหมายการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบภายในกลุ่ม ทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเองและบริหารจัดการงานและเวลา

          - การคิดขั้นสูง:การคิดแก้ปัญหาและคิดสร้างสรรค์ โดยออกแบบแผนภาพวงจรไฟฟ้าที่นำชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มาต่อกันและสร้างชิ้นงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในระบบฟาร์มอัจฉริยะ

          - การรวมพลังทำงานเป็นทีม โดยมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานเป็นทีม มีการสะท้อนการทำงานและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงาน

          - การเป็นพลเมืองเข้มแข็ง โดยมีส่วนร่วมในการพัฒนางานทางด้านการเกษตรในท้องถิ่นผ่านการออกแบบแผนภาพวงจรไฟฟ้าที่นำชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มาต่อกันและสร้างชิ้นงานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในระบบฟาร์มอัจฉริยะ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. ตอบคำถามในใบงานเกี่ยวกับหน้าที่ของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในวงจรไฟฟ้าอย่างถูกต้อง

2. การทำแบบฝึกหัดเรื่องการนำวงจรไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์ในใบงานอย่างถูกต้อง

3. การสร้างแบบจำลอง จากการบันทึกผลการทำกิจกรรมในใบงาน โดยเขียนแผนภาพแสดง การต่อตัวต้านทาน ไดโอด ตัวเก็บประจุ และทรานซิสเตอร์ในวงจรไฟฟ้า และสร้างชิ้นงานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในระบบฟาร์มอัจฉริยะให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง

4. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความมุ่งมั่นอดทนในการทำงานระหว่างทำกิจกรรมและความสำเร็จของการทำงาน

5. การจัดการตนเอง จากการสังเกตพฤตกรรมระหว่างการทำงานและการบันทึกผลการทำกิจกรรมที่สะท้อนการเข้าใจเป้าหมายของการทำงาน รับผิดชอบการทำงานของตนเองตามบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม มีวินัยในการทำงานจนบรรลุเป้าหมายที่ตนเองได้รับ

6. การคิดขั้นสูง จากการบันทึกผลการทำกิจกรรมและการนำเสนอผลงานที่สะท้อนถึงการคิดแก้ปัญหาและการคิดสร้างสรรค์ โดยออกแบบแผนภาพวงจรไฟฟ้าที่นำชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มาต่อวงจรเพื่อสร้างชิ้นงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในระบบฟาร์มอัจฉริยะได้

7. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานและการบันทึกผลการทำกิจกรรมที่สะท้อนการมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานจนบรรลุเป้าหมาย ตลอดจนมีส่วนร่วมในการสะท้อนการทำงานให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงานโดยยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างภายในกลุ่ม

 เครื่องมือ

1. ใบกิจกรรมที่ 1 การนำวงจรไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์ในระบบฟาร์มอัจฉริยะ

2. ใบงานที่ 1 การนำวงจรไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์ในระบบฟาร์มอัจฉริยะ

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ชั่วโมง พลังงานไฟฟ้า
เรื่อง การนำวงจรไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์ (2) วันที่ 17 ธ.ค. 67 (มีใบงาน ใบกิจกรรม)