สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในหนึ่งหน่วยเวลา เรียกว่า กำลังไฟฟ้า มีหน่วยจูลต่อวินาที หรือวัตต์ ซึ่งกำลังไฟฟ้าหาจากความสัมพันธ์ P = W/t สำหรับพลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้หาได้จากผลคูณระหว่างกำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้ากับเวลาที่ใช้ตามสมการ W = Pt  โดยค่ากำลังไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้จะระบุในของมูลผลิตภัณฑ์ที่กล่องบรรจุภัณฑ์หรือตัวเครื่องของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกเครื่อง ตามข้อกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายกำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          - การใช้จำนวน โดยคำนวณกำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ตามความสัมพันธ์ W = Pt

          - การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายข้อมูลและสรุปเกี่ยวกับกำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          - ความมุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป

สมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

          - การจัดการตนเอง โดยระบุเป้าหมายการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบภายในกลุ่ม ทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง และบริหารจัดการงานและเวลา

          - การรวมพลังทำงานเป็นทีม โดยมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานเป็นทีม มีการสะท้อนและการใช้ประจักษ์พยานในการทำงานและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงาน

          - การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับกำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. การตอบคำถามในใบงานเกี่ยวกับกำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้อย่างถูกต้อง

2. การตอบคำถามในใบงานเกี่ยวกับการคำนวณกำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้อย่างถูกต้อง

3. การทำแบบฝึกหัดเรื่องกำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าในใบงานอย่างถูกต้อง

4. การใช้จำนวน จากการบันทึกผลการทำกิจกรรม โดยคำนวณกำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ได้อย่างถูกต้อง

5. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการตอบคำถามในใบงาน โดยแปลความหมายข้อมูลและสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลเกี่ยวกับกำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้

6. ความมุ่งมันอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความมุ่งมั่นอดทนในการทำงานระหว่างทำกิจกรรม และทำให้งานประสบความสำเร็จ

7. การจัดการตนเอง จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานและการบันทึกผลการทำกิจกรรมที่สะท้อนการเข้าใจเป้าหมายการทำงาน รับผิดชอบการทำงานของตน ตามบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม มีวินัยในการทำงานจนบรรลุเป้าหมายที่ตนเองได้รับ

8. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานและการบันทึกผลการทำกิจกรรม ที่สะท้อนการมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานจนบรรลุเป้าหมาย ตลอดจนมีส่วนร่วมในการสะท้อนการทำงานให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงาน โดยยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างภายในกลุ่ม

9. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน ซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรมและลงข้อสรุปเกี่ยวกับกำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ที่สะท้อนความสัมพันธ์ของข้อมูลหรือหลักฐานได้

เครื่องมือ

1. ใบงานที่ 1 กำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าหาได้อย่างไร
2. ใบงานที่ 2 แบบฝึกหัดเรื่อง กำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ชั่วโมง พลังงานไฟฟ้า
เรื่อง กำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าหาได้อย่างไร วันที่ 19 พ.ย. 67 (มีใบงาน ใบความรู้และใบกิจกรรม)