สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ในกรณีทั่วไป เมื่อ A และ B เป็นพหุนาม  เรียกพหุนามที่อยู่ในรูป  A3 + B3  ว่าผลบวกของกำลังสาม

  • A3 + B3 = (A + B)(A2 – AB + B2)

ในกรณีทั่วไป เมื่อ A และ B เป็นพหุนาม  เรียกพหุนามที่อยู่ในรูป  A3 B3  ว่าผลต่างของกำลังสาม

  • A3 – B3 = (A – B)(A2 + AB + B2)

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ค 2.1 ม.3/1 เข้าใจและใช้การแยกตัวประกอบของพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสองในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

จุดประสงค์การเรียนรู้

           นักเรียนสามารถ

           1. แยกตัวประกอบของพหุนามที่อยู่ในรูปผลบวกของกำลังสามโดยการใช้สูตร

           2. แยกตัวประกอบของพหุนามที่อยู่ในรูปผลต่างของกำลังสามโดยการใช้สูตร

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

ตรวจใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง โดมิโนกำลังสาม

เครื่องมือ

ใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง โดมิโนกำลังสาม

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 13
ชั่วโมง แยก ประกอบ ครอบกล่องปริศนา
เรื่อง โดมิโนกำลังสาม วันที่ 1 เม.ย. 68 (มีใบกิจกรรม)