สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ในการทํางานที่ใช้แรงหรือกําลังมาก ๆ จึงมีการใช้เครื่องกลอย่างง่าย ได้แก่คานพื้นเอียง รอบ ลิ่ม สกรูล้อและเพลา เพื่อผ่อนแรงและทํางานได้สะดวกขึ้น

โดยเครื่องกลบางชนิดอาศัยหลักการของโมเมนต์ของแรงเมื่อมีแรงกระทําต่อวัตถุโดยแนวแรงไม่ผ่านจุดหมุน วัตถุอาจเกิดการหมุน โดยเกิดโมเมนต์ของแรง

ซึ่งโมเมนต์ของแรงคํานวณได้จากผลคูณระหว่างขนาดของแรงกับระยะทางจากจุดหมุนไปตั้งฉากกับแนวแรง ในกรณีที่ผลรวมของโมเมนต์ของแรงในทิศทาง

ตามเข็มนาฬิกาเท่ากับผลรวมของโมเมนต์ของแรงในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา วัตถุจะอยู่ในสภาพสมดุลต่อการหมุน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 2/3 ม.2/2  ว.2/3 ม.2/3

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. สังเกตและอธิบายหลักการของเครื่องกลอย่างง่าย

2. บอการประยุกต์ใช้เครื่องกลอย่างง่ายในชีวิตประจําวัน

การวัดผลและประเมินผล

ประเมิน

1. การตอบคําถามในใบงานเกี่ยวกับหลักการทํางานของเครื่องกลอย่างง่ายอย่างถูกต้อง

2. การตอบคําถามในการอภิปรายเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เครื่องกลอย่างง่ายในชีวิตประจําวันอย่างถูกต้อง

เครื่องมือ

- ใบกิจกรรมที่ 1 เครื่องกลอย่างง่ายทํางานอย่างไรตอนที่ 1 พื้นเอียง

- ใบงานที่ 1 เครื่องกลอย่างง่ายทํางานอย่างไรตอนที่ 1 พื้นเอียง

- ใบความรู้ที่ 1 เครื่องกลอย่างง่าย

 

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การขนส่ง
ชั่วโมง การขนส่ง
เรื่อง เครื่องกลอย่างง่าย (1) 29 ก.พ. 67 (มีใบงาน ใบความรู้ และใบกิจกรรม)