สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วหมดไปเนื่องจากต้องใช้เวลานานหลายล้านปีจึงจะเกิดขึ้นใหม่เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์เกิดจากการแปรสภาพของซากพืชและซากสัตว์ที่ตายและสะสมทับถมอยู่ในชั้นตะกอนใต้ผิวโลกเป็นเวลาหลายล้านปีภายใต้อุณหภูมิและความดันที่เหมาะสม เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์แบ่งออกเป็นถ่านหินและปิโตรเลียมปัจจัยที่ทําให้ถ่านหินและปิโตรเลียมมีสมบัติบางอย่างที่แตกต่างกัน เช่น ชนิดของซากสิ่งมีชีวิตที่เป็นวัตถุต้นกําเนิดและสภาพแวดล้อมในการเกิดลักษณะของหินกักเก็บปิโตรเลียมเป็นหินที่มีช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอนหรือเม็ดแร่และช่องว่างดังกล่าวมีลักษณะเชื่อมต่อกัน รวมถึงอาจเป็นหินเนื้อละเอียดหรือหินเนื้อต้นได้แต่ต้องมีรอยแตก รอยแยก หรือมีช่องว่างอยู่ในเนื้อหิน และ รอยแตกรอยแยก หรือช่องว่างดังกล่าวมีลักษณะเขื่อมต่อกันปิโตรเลียมถูกกักเก็บอยู่ใต้ผิวโลกได้เพราะถูกปิดทับด้วยชั้นหินปิดกั้น และแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมเป็นลักษณะโครงสร้างที่ปิโตรเลียมถูกกักเก็บอยู่ในหินกักเก็บปิโตรเลียม และมีชั้นหินปิดกั้นปิดทับไว้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 3.2 ม.2/1

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายลักษณะของชั้นหินปิดกั้น และแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการประเมิณ

ด้านความรู้

ประเมิน

1. การบันทึกผลการอภิปรายเกี่ยวกับลักษณะชั้นหินปิดกั้นปิโตรเลียม และแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม ในใบงานที่ 3

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ประเมิน

1. การลงความเห็นจากข้อมูลได้ด้วยตนเองหรือจากการชี้แนะของครูได้ว่า ชั้นหินปิดกั้นปิโตรเลียมมี

ลักษณะเป็นชั้นหินเนื้อละเอียดแน่นหรือตันทําให้ปิโตรเลียมไม่สามารถไหลหรือซึมผ่านได้และแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมเป็นโครงสร้างที่ปิโตรเลียมถูกกักเก็บอยู่ในหินกักเก็บปิโตรเลียม และมีชั้นหินปิดกั้นปิดทับไว้

2. การตีความหมายข้อมูลจากการสังเกตจากการรวบรวมข้อมูลจากแบบจําลอง และจากการอภิปรายได้ด้วยตนเองหรือจากการชี้แนะของครูได้ว่า รอบหินกักเก็บปิโตรเลียมมีชั้นหินที่มีเนื้อละเอียดแน่นที่สามารถปิดกั้นการไหลหรือซึมผ่านของปิโตรเลียมได้โครงสร้างนี้จึงสามารถกักเก็บปิโตรเลียมไว้ได้และลงข้อสรุปได้ว่าปิโตรเลียมถูกกักเก็บอยู่ใต้ผิวโลกได้เพราะถูกปิดทับด้วยชั้นหินปิดกั้นและแหล่งกักเก็บ

ปิโตรเลียมเป็นลักษณะโครงสร้างที่ปิโตรเลียมถูกกักเก็บอยู่ในหินกักเก็บปิโตรเลียม และมีชั้นหินปิดกั้นปิดทับไว้

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

ประเมิน

            1. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความรอบคอบเกี่ยวกับความละเอียดถี่ถ้วนในการทํากิจกรรม

การวางแผนการทํากิจกรรม และการทํางานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

2. การนําหลักฐานหรือข้อมูลที่ได้จากการสังเกตจากการรวบรวมข้อมูลจากแบบจําลอง และจากการอภิปราย มาใช้สนับการอธิบายเกี่ยวกับลักษณะชั้นหินปิดกั้นปิโตรเลียม และแหล่งกัก

เก็บปิโตรเลียม

3. การเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากการทํากิจกรรม การนําเสนอข้อมูลหรือผลการทํากิจกรรม ตามผลที่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริง ถึงแม้จะแตกต่างจากผู้อื่น

4. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจในการทํากิจกรรม การทํางานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จตามกําหนดและตรงต่อเวลา อดทนแม้การทํากิจกรรมจะมีปัญหาและใช้เวลา

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

ประเมิน

ประเมินจาก

             1. การจัดการตนเอง โดยทํากิจกรรมและนําเสนอผลการทํากิจกรรมได้เสร็จทันเวลาที่กําหนดไว้

2. การสื่อสาร โดยใช้ภาพข้อความหรือสัญลักษณ์ต่างๆเพื่ออธิบายลักษณะชั้นหินปิดกั้นปิโตรเลียม และแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม ให้เข้าใจได้ง่ายและถูกต้อง

3. การอธิบายปรากฏ-การณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์โดยตอบคําถามในใบงาน และการนําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกระบวน-การเกิด สมบัติและการใช้ประโยชน์ถ่านหินและปิโตรเลียม ปัจจัยที่ทําให้ถ่านหินและปิโตรเลียมมีสมบัติบางอย่างที่แตกต่างกัน ลักษณะของหินกักเก็บปิโตรเลียมลักษณะของหินปิดกั้นและแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม

เครื่องมือ

- ใบความรู้ที่ 3 หินปิดกั้นและแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม

- ใบงานที่ 3 หินปิดกั้นและแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การใช้พลังงานในท้องถิ่น
ชั่วโมง การใช้พลังงานในท้องถิ่น
เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์ (2) 23 ม.ค. 68 (มีใบงาน ใบความรู้ และใบกิจกรรม)