เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วหมดไปเนื่องจากต้องใช้เวลานานหลายล้านปีจึงจะเกิดขึ้นใหม่เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์เกิดจากการแปรสภาพของซากพืชและซากสัตว์ที่ตาย
และสะสมทับถมอยู่ในชั้นตะกอนใต้ผิวโลกเป็นเวลาหลายล้านปีภายใต้อุณหภูมิและความดันที่เหมาะสม เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์แบ่งออกเป็นถ่านหินและปิโตรเลียมปัจจัยที่ทําให้ถ่านหินและ
ปิโตรเลียมมีสมบัติบางอย่างที่แตกต่างกัน เช่น ชนิดของซากสิ่งมีชีวิตที่เป็นวัตถุต้นกําเนิดและสภาพแวดล้อมในการเกิดลักษณะของหินกักเก็บปิโตรเลียมเป็นหินที่มีช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอน
หรือเม็ดแร่และช่องว่างดังกล่าวมีลักษณะเชื่อมต่อกัน รวมถึงอาจเป็นหินเนื้อละเอียดหรือหินเนื้อต้นได้แต่ต้องมีรอยแตก รอยแยก หรือมีช่องว่างอยู่ในเนื้อหิน และ รอยแตกรอยแยก หรือช่องว่าง
ดังกล่าวมีลักษณะเขื่อมต่อกันปิโตรเลียมถูกกักเก็บอยู่ใต้ผิวโลกได้เพราะถูกปิดทับด้วยชั้นหินปิดกั้น และแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมเป็นลักษณะโครงสร้างที่ปิโตรเลียมถูกกักเก็บอยู่ในหินกักเก็บปิโตรเลียม
และมีชั้นหินปิดกั้นปิดทับไว้
ตัวชี้วัด
ว 3.2 ม.2/1
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เปรียบเทียบกระบวนการเกิด สมบัติและการใช้ประโยชน์ถ่านหินและปิโตรเลียม
2. บอกปัจจัยที่ทําให้ถ่านหินและปิโตรเลียมมีสมบัติบางอย่างที่แตกต่างกัน
3. อธิบายลักษณะของหินกักเก็บปิโตรเลียมจากแบบจําลอง และยกตัวอย่างหินกักเก็บปิโตรเลียม
วิธีการประเมิณ
ด้านความรู้
ประเมิน
ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ประเมิน
1. การบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของเนื้อหินทราย หินปูน และหินแกรนิต และการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการหยดน้ำมันพืชลงไปที่ผิวหน้าของหินทั้ง 3 ชนิด โดยไม่เพิ่มความคิดเห็น
2. การตั้งสมมติฐานเพื่อบอกความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเนื้อหินกับการกักเก็บน้ำมันพืชและมีเหตุผลประกอบได้
3. การลงความเห็นจากข้อมูลได้ด้วยตนเองหรือจากการชี้แนะของครูได้ว่า หินทรายกักเก็บน้ำมันพืชได้จากการสังเกตการซึมของน้ำมันพืชลงในหินทราย ส่วนหินปูนและหินแกรนิตไม่สามารถกักเก็บน้ำมันพืชได้เพราะน้ำมันพืชไม่ซึมลงไปในหินทั้ง 2 ชนิด ดังกล่าว ดังนั้นลักษณะของเนื้อหินทรายจึงเป็นลักษณะของหินที่สามารถกักเก็บน้ำมันพืชไว้ได้
4. การกําหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตามและตัวแปรที่ต้องการควบคุมให้คงที่ของการทดลองเรื่องหินกักเก็บปิโตรเลียมมีลักษณะอย่างไร ได้ครบถ้วนและถูกต้อง
5.การตีความหมายข้อมูลจากการสังเกตจากการรวบรวมข้อมูลจากการอภิปรายและจากการสร้างแบบจําลองได้ด้วยตนเองหรือจากการชี้แนะของครูได้ว่า น้ำมันพืชซึมลงไปในหินทรายได้เพราะผิวหน้าของหินทรายมีรอยต่อระหว่างเม็ดตะกอนหรือเม็ดแร่มองเห็นได้จากการสังเกตซึ่งแตกต่างจากหินปูนและหินแกรนิตที่เนื้อหินจะแน่นมองไม่เห็นรอยต่อหรือช่องว่าระหว่างผลึกแร่และลงข้อสรุปได้ว่า หินกักเก็บปิโตรเลียมตามธรรมชาติบางชนิดจะมีช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอนหรือเม็ดแร่และช่องว่างดังกล่าวมีลักษณะเชื่อมต่อกัน
6. การอธิบายลักษณะของหินกักเก็บปิโตรเลียมโดยใช้แบบจําลองที่สร้างขึ้นได้ถูกต้องด้วยตนเอง
หรือจากการชี้แนะของครู
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
ประเมิน
1. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความรอบคอบเกี่ยวกับความละเอียดถี่ถ้วนในการทํากิจกรรมกา วางแผนการทํากิจกรรม การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือเครื่องมือก่อนทํากิจกรรม การ
ทํางานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
2. การนําหลักฐานหรือข้อมูลที่ได้จากการสังเกตจากการรวบรวมข้อมูลจากการอภิปรายและจากการสร้างแบบจําลอง มาใช้สนับการอธิบายเกี่ยวกับลักษณะของหินกักเก็บปิโตรเลียม
3. การเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากการทํากิจกรรม การนําเสนอข้อมูลหรือผลการทํากิจกรรม ตามผลที่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริง ถึงแม้จะแตกต่างจากผู้อื่น
4. การแปลความหมายข้อมูลโดยใช้หลักฐานหรือข้อมูลต่าง ๆ จากการทํากิจกรรม ตามผลการทํากิจกรรมที่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริงอย่างมีเหตุและผล
5. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจในการทํากิจกรรม การทํางานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จตามกําหนดและตรงต่อเวลา อดทนแม้การทํากิจกรรมจะมีปัญหาและใช้เวลา
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
ประเมิน
ประเมินจาก
1. การจัดการตนเอง โดยทํากิจกรรมและนําเสนอผลการทํากิจกรรมได้เสร็จทันเวลาที่กําหนดไว้
2. การสื่อสาร โดยใช้ภาพข้อความหรือสัญลักษณ์ต่างๆเพื่ออธิบายลักษณะของหินกักเก็บปิโตรเลียม ให้เข้าใจได้ง่ายและถูกต้อง
เครื่องมือ
- ใบความรู้ที่ 1 เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์
- ใบงานที่ 1 เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์