หลุมยุบเกิดขึ้นได้อย่างไร (หลุมยุบเกิดจากการถล่มของพื้นดินเหนือบริเวณโพรงหรือถ้ำหินปูน หินโดโลไมต์ เกลือหิน รวมถึงยิปซัมที่อยู่ใต้ดิน)
ตัวชี้วัด
ว 6.1 ม.2/9
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายการเกิดหลุมยุบ และผลกระทบจากหลุมยุบที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมแวดล้อม
วิธีการประเมิณ
ด้านความรู้
ประเมินจาก
การบันทึกผลการทำกิจกรรม การตอบคำถามท้ายกิจกรรมเกี่ยวกับกระบวนการเกิดหลุมยุบ และผลกระทบที่เกิดจากหลุมยุบที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในใบงานที่ ๑
ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ประเมิน
1. การบรรยายรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแบบจำลองการเกิดหลุมยุบ โดยไม่เพิ่มเติมความคิดเห็น
2. ลงความเห็นจากข้อมูลได้ด้วยตนเองหรือจากการชี้แนะของครูได้ว่า หลุมยุบเป็นหลุมหรือแอ่งบนพื้นดินที่ปากหลุมมีลักษณะเกือบกลม เกิดจากการถล่มของพื้นดินเหนือบริเวณโพรงหรือถ้ำของหินปูน หินโดโลไมต์ เกลือหิน รวมถึงยิปซัมที่อยู่ใต้ดิน บางกรณีที่พื้นที่เป็นโพรงหรือถ้ำอยู่ใต้ดินเป็นเวลานาน เมื่อน้ำใต้ดินลดระดับลงก็สามารถทำให้พื้นดินเหนือโพรงหรือถ้ำยุบตัวลง ทำให้พื้นดินเหนือโพรงหรือถ้ำยุบตัวเกิดหลุมยุบ
3. การอธิบายกระบวนการเกิดหลุมยุบ และผลกระทบที่เกิดจากหลุมยุบที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ถูกต้องด้วยตนเอง หรือจากการชี้แนะของครู
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
ประเมินจาก
1. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความรอบคอบ เกี่ยวกับความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือเครื่องมือก่อนและหลังทำกิจกรรม การทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
2. การนำหลักฐานหรือข้อมูลที่ได้จากการสังเกต จากการรวบรวมข้อมูล จากการอภิปรายและจากการสร้างแบบจำลอง มาใช้สนับการอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการเกิดหลุมยุบ และผลกระทบที่เกิดจากหลุมยุบที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
3. การเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากการทำกิจกรรม การนำเสนอข้อมูลหรือผลการทำกิจกรรม ตามผลที่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริง ถึงแม้จะแตกต่างจากผู้อื่น
4. การแปลความหมายข้อมูลโดยใช้หลักฐานหรือข้อมูลต่าง ๆ จากการทำกิจกรรม ตามผลการทำกิจกรรมที่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริง อย่างมีเหตุและผล
5. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจในการทำกิจกรรม การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จตามกำหนดและตรงต่อเวลา อดทนแม้การทำกิจกรรมจะมีปัญหาและใช้เวลา
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
ประเมินจาก
1. การจัดการตนเอง โดยทำกิจกรรมและนำเสนอผลการทำกิจกรรมได้เสร็จทันเวลาที่กำหนด
2. การสื่อสาร โดยใช้ภาพ ข้อความหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่ออธิบายกระบวนการเกิดหลุมยุบ และผลกระทบที่เกิดจากหลุมยุบที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ให้เข้าใจได้ง่ายและถูกต้อง
3. การรวมพลังทำงานเป็นทีม การให้ข้อเสนอแนะและการโต้แย้งโดยใช้เหตุและผล และการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการทำกิจกรรม การช่วยเหลือเพื่อนในขณะทำกิจกรรม และการปฏิบัติตามคำชี้แนะในขณะทำกิจกรรม และการใช้การตัดสินใจเป็นทีมแบบฉันทามติ
4. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยตอบคำถามในใบงาน และการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการเกิดหลุมยุบ และผลกระทบที่เกิดจากหลุมยุบที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
เครื่องมือ
ใบงาน เรื่อง หลุมยุบ