สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

-         ภูมิลักษณ์ที่นักเรียนเลือกศึกษาคืออะไร สืบค้นและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภูมิลักษณ์ได้จากแหล่งข้อมูลใด ด้วยวิธีการใด

(ชื่อภูมิลักษณ์ตามที่นักเรียนเลือก แหล่งข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธรณีวิทยา และการท่องเที่ยว เช่น กรมทรัพยากรธรณี การท่องเที่ยวแหล่งประเทศไทย เวปไซต์ข่าวเพื่อการอนุรักษ์ต่าง ๆโดยสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ต สอบถามผู้รู้ หรือติดต่อขอข้อมูลจากหน่วยงานในพื้นที่)

-         ทำไมเราจึงต้องอนุรักษ์ภูมิลักษณ์

(การเกิดภูมิลักษณ์ต้องอาศัยตัวนำพาและปัจจัยต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา แต่ภูมิลักษณ์สามารถผุพัง เสื่อมสภาพ และถูกทำลายได้ เราจึงต้องอนุรักษ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยา หรือแหล่งท่องเที่ยว)

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 6.1 ม.2/9

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. สืบค้นและอธิบายการเกิดและลักษณะภูมิลักษณ์ในท้องถิ่นหรือภูมิลักษณ์ที่สนใจ

2. สืบค้นและอธิบายวิธีการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ที่เลือก

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการประเมิณ

ด้านความรู้

ประเมินจาก

1. การบันทึกผลการทำกิจกรรม การตอบคำถามท้ายกิจกรรมเกี่ยวกับการเกิดและลักษณะภูมิลักษณ์

ในใบงานที่1

2. การบันทึกการอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ที่เลือก ในใบงานที่ 1

 

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ประเมินจาก

1. การลงความเห็นจากข้อมูลได้ด้วยตนเองหรือจากการชี้แนะของครูได้ว่า ภูมิลักษณ์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงบนผิวโลกด้วยกระบวนการทาง

ธรณีวิทยาต่าง ๆ และต้องอาศัยตัวนำพาและปัจจัยต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ภูมิลักษณ์สามารถผุพัง ถูกทำลาย เราควรหาวิธีการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ต่าง ๆ ให้คงอยู่ในสภาพเดิมให้มากที่สุด

2. การนำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมเกี่ยวกับการเกิดและลักษณะภูมิลักษณ์ และวิธีการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ที่เลือกไว้ มาจัดกระทำโดยวิธีการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับข้อมูล เพื่อประกอบการนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และสื่อความหมายได้ชัดเจน

3. การตีความหมายข้อมูล จากการรวบรวมข้อมูล และจากการอภิปรายได้ด้วยตนเอง หรือจากการชี้แนะของครูได้ว่า ภูมิลักษณ์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงบนผิวโลกด้วยกระบวนการทาง ธรณีวิทยาต่าง ๆ และต้องอาศัยตัวนำพาและปัจจัยต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ภูมิลักษณ์สามารถผุพัง ถูกทำลาย เราควรหาวิธีการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ต่าง ๆ ให้คงอยู่ในสภาพเดิมให้มากที่สุด

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

ประเมินจาก

1. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความรอบคอบ เกี่ยวกับความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือเครื่องมือก่อนและหลังทำกิจกรรม การทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

2. การนำหลักฐานหรือข้อมูลที่ได้จากการสังเกต จากการรวบรวมข้อมูล และจากการอภิปราย มาใช้สนับสนุนการอธิบายเกี่ยวกับการเกิดและลักษณะภูมิลักษณ์ และวิธีอนุรักษ์ภูมิลักษณ์

3. การเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากการทำกิจกรรม การนำเสนอผลการทำกิจกรรม ตามผลที่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริง ถึงแม้จะแตกต่างจากผู้อื่น

4. การแปลความหมายข้อมูลโดยใช้หลักฐานหรือข้อมูลต่าง ๆ จากผลการทำกิจกรรมที่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริง อย่างมีเหตุและผล

5. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจในการทำกิจกรรม การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จตามกำหนดและตรงต่อเวลา อดทนแม้การทำกิจกรรมจะมีปัญหาและใช้เวลา

 

สมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

ประเมินจาก

1. การสื่อสาร โดยใช้ภาพ ข้อความและสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่ออธิบายการเกิดภูมิลักษณ์ ลักษณะและวิธีการอนุรักษ์ภูมิที่เลือก ให้เข้าใจได้ง่ายและถูกต้อง

2. การรวมพลังทำงานเป็นทีม โดยให้ข้อเสนอแนะและโต้แย้งโดยใช้เหตุและผล และสื่อสารให้เกิดความเข้าใจในการทำกิจกรรม ช่วยเหลือเพื่อนในขณะทำกิจกรรม ปฏิบัติตามคำชี้แนะในขณะทำกิจกรรม และการใช้การตัดสินใจเป็นทีมแบบฉันทามติ

3. การคิดขั้นสูง โดยการรวบรวมข้อมูล และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อเลือกข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจหรือสร้างข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเกิดและลักษณะภูมิลักษณ์ และวิธีการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ ได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น

4. การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ด้วยเหตุและผล และใช้วิจารณญาณในการหาวิธีการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ให้คงสภาพเดิมตามธรรมชาติมากที่สุด

5. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยตอบ

         เครื่องมือ

        ใบงาน เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ในท้องถิ่น

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 โลกและการเปลี่ยนแปลง
ชั่วโมง โลกและการเปลี่ยนแปลง
เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ในท้องถิ่น (1) 21 พ.ย. 67 (มีใบงาน ใบกิจกรรม)