สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า เป็นบทประพันธ์ที่พระยาอุปกิตศิปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้แต่งเป็นกลอนดอกสร้อยจากบทแปลกวีนิพนธ์เรื่อง

Elegy Written in a Country Churchyard ของทอมัส เกรย์ (Thomas Gray) กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าให้ข้อคิดเกี่ยวกับความตายและ

การมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ ซึ่งเมื่อนักเรียนได้ศึกษาแล้วจะสามารถนำข้อคิดจากเรื่องที่ได้เรียนรู้นำมาการสร้างสรรค์นิทาน เรื่องสั้น โดยนำเสนอข้อคิด

และแนวคิดจากเรื่องกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้ามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

          ท ๕.๑ ม.๒/๔ สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่าน ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

                    ๑. บอกข้อคิดของกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าได้     

ด้านทักษะกระบวนการ

                    ๑. แต่งเรื่องจากข้อคิดของกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าได้

- คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                    ๑. ใฝ่เรียนรู้

                    ๒. มุ่งมั่นในการทำงาน

- คุณลักษณะเฉพาะ (ของแต่ละวิชา)

                    ๑. เห็นคุณค่าของวรรณคดีไทย

                    ๒. เข้าใจลักษณะบทร้อยกรองไทย

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

๑. มีความสามารถในการสื่อสาร

๒. มีความสามารถในการคิด

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- คำถาม     

- ใบงานเรื่อง ช่วยกันคิดแนวคิดของเรื่อง     

เครื่องมือ

                    - คำถามกระตุ้นความคิด  

                - เกณฑ์การประเมิน ใบงานเรื่อง ช่วยกันคิดแนวคิดของเรื่อง     

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สื่อความเห็นเน้นกระบวนการ
ชั่วโมง สื่อความเห็นเน้นกระบวนการ
เรื่อง ดอกสร้อย ร้อยกรอง (9) 12 มี.ค. 68 (มีใบงาน การ์ตูนประกอบการสอน)