สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

กลอนแต่เดิมใช้เรียกคำประพันธ์ที่มีสัมผัสทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน หรือร่ายก็ตาม นอกจากนี้กลอนยังใช้เรียกเป็นบทลำนำสำหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย หรือเป็นเพลงสำหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือกลอนตลาด แต่ในหน่วยการเรียนรู้นี้กลอนคือบทประพันธ์ที่ไม่ใช่โคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่าย ลักษะทั่วไปของกลอนสุภาพหมายถึง บทและบาท จำนวนวรรค จำนวนคำ และสัมผัส

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ท 1.1 ม.2/1    อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้อง

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

  1. บอกฉันทลักษณ์ของกลอนดอกสร้อยได้ถูกต้อง

ด้านทักษะกระบวนการ

  1. เขียนแบ่งวรรคของกลอนดอกสร้อยได้อย่างถูกต้อง
  2. หาสัมผัส  และเติมคำตอบจากคำประพันธ์ได้ถูกต้อง

ด้านคุณลักษณะ

    - คุณลักษณะอันพึงประสงค์

          1. ใฝ่เรียนรู้

          2. รักความเป็นไทย

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

  1.  มีความสามารถในการสื่อสาร

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

-คำถาม     

-ใบงานที่ 1 เรื่อง  “เติมคำ....จำกลอน”

 เครื่องมือ

            -คำถามกระตุ้นความคิด  

-เกณฑ์การประเมินใบงานที่ 1 “เติมคำ....จำกลอน”

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สื่อความเห็นเน้นกระบวนการ
ชั่วโมง สื่อความเห็นเน้นกระบวนการ
เรื่อง ดอกสร้อย ร้อยกรอง (1) 20 ก.พ. 68 (มีใบงาน ใบความรู้)