สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

คำกริยา เป็นคำที่แสดงอาการหรือการกระทำของบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เกิด รับประทาน นอน เขียน เดิน เล่น หัวเราะ ร้องไห้ ทักทาย คิด ฯลฯ โดยปกติแล้ว เราไม่สามารถ

ใช้คำกริยาพื้นฐานเหล่านี้กับพระมหากษัตริย์และบรมวงศานุวงศ์ได้ ในการเรียบเรียงประโยคหรือข้อความ จำเป็นจะต้องเปลี่ยนคำกริยาทั่วไปดังกล่าวให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์เสียก่อน

ซึ่งผู้เรียนจำเป็นต้องมีความรู้ด้านการสร้างคำกริยาราชาศัพท์เพื่อที่จะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ท 4.1 ม.2/4  ใช้คำราชาศัพท์

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

  1. อธิบายความหมายและหลักการใช้กริยาราชาศัพท์ได้
  2. วิเคราะห์คำศัพท์ของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก

ด้านทักษะกระบวนการ

  1. เลือกใช้คำกริยาราชาศัพท์ได้ถูกต้องตามพระอิสริยศักดิ์

ด้านคุณลักษณะ

    - คุณลักษณะอันพึงประสงค์

          1. ใฝ่เรียนรู้

          2. รักความเป็นไทย

    - คุณลักษณะเฉพาะ

  1. เห็นคุณค่าคำราชาศัพท์และนำไปใช้ในชีวิตจริงได้

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

          1. มีความสามารถในการสื่อสาร

          2. ความสามารถในการคิด

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

-คำถาม     

-ใบงานที่ 14 เรื่อง  “เลิศลักษณ์ศัพท์ราชา”  (คำกริยาราชาศัพท์)

เครื่องมือ

           -คำถามกระตุ้นความคิด  

-เกณฑ์การประเมินใบงานที่ 14 เรื่อง  “เลิศลักษณ์ศัพท์ราชา”  (คำกริยาราชาศัพท์)

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เพลินพาทีชี้ประเด็น
ชั่วโมง เพลินพาทีชี้ประเด็น
เรื่อง เลิศลักษณ์ศัพท์ราชา (3) 31 ม.ค. 68 (มีใบงาน ใบความรู้ และตารางเกม)