สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ช่วงเวลาที่ไม่มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านประเทศไทยจะเป็นฤดูร้อน มรสุมมีการเกิดเหมือนกับลมบก ลมทะเล

ซึ่งเกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำ แต่มรสุมมีขนาดของบริเวณที่เกิดและช่วงระยะเวลาการเกิดแตกต่างจาก

ลมบก ลมทะเล ซึ่งมรสุมเกิดบริเวณเขตร้อนของโลก ส่วนลมบก ลมทะเล เกิดบริเวณชายฝั่ง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด ว 3.2 ป.6/4  เปรียบเทียบการเกิดลมบก ลมทะเล และมรสุม รวมทั้งอธิบายผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมจากแบบจำลอง

                    ป.6/5  อธิบายผลของมรสุมต่อการเกิดฤดูของประเทศไทยจากข้อมูลที่รวบรวมได้               

จุดประสงค์การเรียนรู้

1 อธิบายการเกิดฤดูร้อนของประเทศไทย

2 เปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างของการเกิดลมบก ลมทะเล กับมรสุม

3 จัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลเกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างของการเกิดลมบกลมทะเล กับมรสุม

การวัดผลและประเมินผล

1. สังเกตการตอบคำถามในชั้นเรียนและเนื้อหาในใบงาน

2. สังเกตทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในขณะทำกิจกรรม

3. สังเกตด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ
ชั่วโมง ปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ
เรื่อง การเกิดมรสุมเกี่ยวข้องกับฤดูของประเทศไทยอย่างไร(2) 14 พ.ย. 67 (มีใบงาน)