สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การเขียนจดหมายเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร การเขียนจดหมายส่วนตัวควรคำนึงถึงการใช้ภาษาสุภาพ

เหมาะสมกับบุคคล และสื่อความได้ถูกต้องชัดเจนและเหมาะสมจะช่วยให้การสื่อสารบรรลุตามวัตถุประสงค์

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

               - บอกหลักการเขียนจดหมายถึงผู้ปกครองและญาติได้

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

               - เขียนจดหมายถึงผู้ปกครองและญาติได้

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

               - มีมารยาทในการเขียนและเห็นความสำคัญในการเขียนจดหมายถึงผู้ปกครองและญาติ

การวัดผลและประเมินผล

 

สิ่งที่ต้องการวัด/ประเมิน

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์การประเมิน

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- บอกหลักการเขียนจดหมายได้

 

- พิจารณาการตอบคำถามของนักเรียน

 

- คำถามสำคัญ

 

ผ่านเกณฑ์

การประเมิน

ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

- ตอบคำถามเกี่ยวกับการเขียนจดหมายได้

 

- ตรวจใบงานที่ ๘ เรื่อง การเขียนจดหมาย (๑)

 

- แบบประเมิน

สรุปความรู้เรื่องการเขียนจดหมาย

 

ผ่านเกณฑ์

การประเมิน

ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

คุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- มีมารยาทในการเขียนและเห็นความสำคัญในการเขียนจดหมาย

 

- สังเกตมารยาทในการเขียน

 

 

- แบบประเมิน

 

ผ่านเกณฑ์

การประเมิน

ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

สมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

- ความสามารถในการสื่อสาร (๑.๑) เขียนสื่อสารเพื่อถ่ายทอดความรู้สึก ความห่วงใย บอกเล่าเหตุการณ์ได้ถูกต้องตามรูปแบบของการเขียนจดหมาย และใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม

 

 

- ประเมินการเขียนสื่อสารเพื่อถ่ายทอดความรู้สึก ความห่วงใย บอกเล่าเหตุการณ์ได้ถูกต้องตามรูปแบบของการเขียนจดหมาย และใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม

 

 

- แบบประเมินความสามารถใน          การสื่อสาร

 

 

ผ่านเกณฑ์
การประเมิน

ระดับคุณภาพ “ผ่าน”

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

- ใฝ่เรียนรู้

 

- สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

 

- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

 

ผ่านเกณฑ์
การประเมิน

ระดับคุณภาพ “ผ่าน”

 

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ ๑๐ ชื่อหน่วย สื่อความรู้คิด วิวิธเหตุผล
ชั่วโมง สื่อความรู้คิด วิวิธเหตุผล
เรื่อง การเขียนจดหมาย (๑) 24 ธ.ค. 67 (มีใบงาน ใบความรู้)