สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การระบุความรู้จากเรื่องที่อ่านเป็นการอ่านเพื่อจับใจความ เพิ่มพูนความรู้ของตนเอง ซึ่งจะต้องอาศัยการอ่านละเอียดพิจารณาข้อความแยกสารที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น

แล้วจึงจะสามารถจับประเด็นที่เป็นความรู้ที่สามารถนำมาเป็นประโยชน์กับตนเองได้ ซึ่งการระบุความรู้จากเรื่องที่อ่านควรเรียบเรียงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้มีความสละสลวย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

               - บอกหลักการระบุความรู้จากเรื่องที่อ่านได้

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

               - ระบุความรู้จากการอ่านสารานุกรมได้

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

               - มีมารยาทในการอ่าน

การวัดผลและประเมินผล

 

สิ่งที่ต้องการวัด/ประเมิน

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์การประเมิน

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- บอกหลักการระบุความรู้จากเรื่องที่อ่าน

 

- ตรวจการเขียนแผนภาพความคิดสรุปหลักการระบุความรู้และข้อคิดจากการอ่าน

 

- แบบประเมินการเขียนแผนภาพความคิด

 

- ผ่านเกณฑ์

การประเมิน

ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

- ระบุความรู้และข้อคิดจากการอ่าน

 

 

- ตรวจใบงานที่ ๒ เรื่อง การระบุความรู้จากการอ่าน

 

- แบบประเมิน

การระบุความรู้และข้อคิดจากการอ่าน

 

- ผ่านเกณฑ์

การประเมิน

ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

คุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- มีมารยาทในการอ่าน

 

- สังเกตพฤติกรรม

 

 

- แบบประเมิน

 

- ผ่านเกณฑ์

การประเมิน

ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

สมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

- ความสามารถในการคิด (๒.๑) ระบุความรู้จากเรื่องที่อ่านโดยสามารถนำความรู้และข้อคิดที่ได้จาก  การอ่านมาเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน

 

 

- ประเมินระบุความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน

 

 

- แบบประเมินสมรรถนะด้านการคิด

 

 

- ผ่านเกณฑ์
การประเมิน

ระดับคุณภาพ “ผ่าน”

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

- ใฝ่เรียนรู้

 

- สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

 

- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

 

- ผ่านเกณฑ์
การประเมิน

ระดับคุณภาพ “ผ่าน”

 

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ ๘ ชื่อหน่วย พินิจภาษา พิจารณาสาร
ชั่วโมง พินิจภาษา พิจารณาสาร
เรื่อง การระบุความรู้จากเรื่องที่อ่าน 5 พ.ย. 67 (มีใบงาน ใบความรู้)