สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

เสียงที่อยู่รอบตัวมีความดังแตกต่างกัน เราสามารถตั้งสมมติฐานที่สอดคล้องกับคำถามของการทดลอง กำหนดและควบคุมตัวแปร ออกแบบการทดลองและการบันทึกผล

และทำการทดลองเพื่อตอบคำถามและอธิบายการเกิดและการได้ยินเสียงดัง เสียงค่อยที่แตกต่างกันจากแหล่งกำเนิดเสียงต่าง ๆ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

 มาตรฐาน ว 2.3 ตัวชี้วัด  ป.5/3   ออกแบบการทดลองและอธิบายลักษณะและการเกิดเสียงดัง เสียงค่อย

จุดประสงค์

1. ตั้งคำถามของการทดลองเกี่ยวกับการเกิดหรือการได้ยินเสียงดัง เสียงค่อยที่แตกต่างกัน

2. ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการเกิดหรือการได้ยินเสียงดัง เสียงค่อยที่แตกต่างกัน

3. กำหนดและควบคุมตัวแปรเพื่อทดลองเกี่ยวกับการเกิดหรือการได้ยินเสียงดัง เสียงค่อยที่แตกต่างกัน

4. ความใจกว้าง ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

การวัดผลและประเมินผล

1. สังเกตการตอบคำถามในชั้นเรียนและเนื้อหาในใบงาน

2. สังเกตทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการทำกิจกรรม

3. สังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 5 ชื่อหน่วย เสียง
ชั่วโมง เสียง
เรื่อง เสียงดัง เสียงค่อยเกิดขึ้นได้อย่างไร (1) 25 ธ.ค. 67 (มีใบงาน ใบกิจกรรม)