สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ฝน หิมะ และลูกเห็บ เป็นหยาดน้ำฟ้าซึ่งเป็นน้ำในสถานะต่าง ๆ  ที่ตกจากฟ้ามายังพื้นโลก โดยฝนเกิดจากละอองน้ำในเมฆรวมตัวกันจนมีน้ำหนักมากเกินกว่าที่บรรยากาศ

จะพยุงไว้ได้จะตกลงมายังพื้นโลก หิมะเกิดขึ้นในบริเวณที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ในบางประเทศที่อยู่ในเขตหนาวและในบริเวณยอดเขาที่สูงมาก ๆ  ในเขตอื่น ๆ

ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ไอน้ำในอากาศจะระเหิดกลับเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งจับตัวกันเป็นผลึกน้ำแข็ง และรวมตัวกันจนมีน้ำหนักมากเกินกว่าที่อากาศจะ

พยุงไว้จึงตกลงมายังพื้นโลก ลูกเห็บเกิดจากหยดน้ำที่เปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็ง โดยกระแสลมของพายุจะพัดหยดน้ำเข้าไปในเมฆฝนฟ้าคะนองในบริเวณที่มีอุณหภูมิของ

อากาศต่ำกว่าจุดเยือกแข็งทำให้หยดน้ำจะเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็ง การพัดวนของก้อนน้ำแข็งในเมฆฝนฟ้าคะนองทำให้ก้อนน้ำแข็งในเมฆฝนฟ้าคะนองมีขนาดใหญ่ขึ้น

เมื่ออากาศไม่สามารถพยุงรับน้ำหนักไว้ได้หรือกระแสลมของพายุเริ่มเบาลงก็จะตกลงมาสู่พื้นโลก

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

มาตรฐาน ว 3.2 ตัวชี้วัด ป.5/5 เปรียบเทียบกระบวนการเกิดฝน หิมะ และลูกเห็บจากข้อมูลที่รวบรวมได้

จุดประสงค์

1. อธิบายการเกิดฝน หิมะ และลูกเห็บ

2. ตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปเกี่ยวกับการเกิดฝน หิมะ และลูกเห็บจากสถานการณ์ที่กำหนด

3. จัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดฝน หิมะ และลูกเห็บ

การวัดผลและประเมินผล

1. สังเกตการตอบคำถามในชั้นเรียนและเนื้อหาในใบงาน

2. สังเกตทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการทำกิจกรรม

3. สังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 4 ชื่อหน่วย รู้จักน้ำ และการเปลี่ยนแปลงของน้ำ
ชั่วโมง รู้จักน้ำ และการเปลี่ยนแปลงของน้ำ
เรื่อง ฝน หิมะ และลูกเห็บ เกิดขึ้นได้อย่างไร (1) 20 พ.ย. 67 (มีใบงาน ใบกิจกรรม)