สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

มาตรากม หรือเเม่กม เป็นคำที่มี “ม” เป็นตัวสะกด การฝึกอ่านและเขียนคำในมาตรา กม จะช่วยให้เรานำคำไปใช้ได้ถูกต้องกับความหมาย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

  - บอกลักษณะของคำที่อยู่ในมาตรากม หรือแม่กมได้ถูกต้อง

2 ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

  1) อ่านสะกดคำแม่กม

  2) เขียนคำในแม่กม

3 ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

  1) มีมารยาทในการอ่าน

  2) รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง

               

การวัดผลและประเมินผล

 

สิ่งที่ต้องการวัด/ประเมิน

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์การประเมิน

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- บอกลักษณะของคำที่อยู่ในแม่กม หรือแม่กมได้ถูกต้อง

 

- พิจารณาการตอบคำถาม

 

- คำถามสำคัญ

 

 

ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

1. อ่านสะกดคำแม่กม

2. เขียนคำในแม่กม

 

 

-ใบงานที่ 5 เรื่อง เขียนและบอกความหมายของคำในแม่กม

 

 

-แบบประเมินใบงานที่ 5 เรื่อง เขียนและบอกความหมายของคำในแม่กม

 

 

ผ่านเกณฑ์

การประเมิน

ร้อยละ 60 ขึ้นไป

คุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

1. มีมารยาทในการอ่าน

๒. รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง       

 

-การสังเกตพฤติกรรม

 

-แบบสังเกตพฤติกรรม

 

ผ่านเกณฑ์
การประเมิน

ระดับคุณภาพ “ผ่าน”

สมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

1. การฝึกอ่าน และฝึกเขียนคำแม่กม เลือกใช้คำได้ถูกต้องตามความหมาย และจำแนกคำมาตรา กม (2.1)

2.  รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย (4.3)

 

 

1. การประเมินความสามารถ

ในการคิด

๒. การประเมินความสามารถ

ในการใช้ทักษะชีวิต

 

 

 

 

1. การประเมินความสามารถ

ในการคิด

๒. การประเมินความสามารถ

ในการใช้ทักษะชีวิต

 

 

 

 

ผ่านเกณฑ์
การประเมิน

ระดับคุณภาพ “ผ่าน”

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

 

 

- การสังเกตพฤติกรรม

 

- แบบสังเกตพฤติกรรม

 

ผ่านเกณฑ์
การประเมิน

ระดับคุณภาพ “ผ่าน”

 

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ ๑๑ ชื่อหน่วย แสนสนุกกับมาตราตัวสะกด
ชั่วโมง แสนสนุกกับมาตราตัวสะกด
เรื่อง แม่กมสุขสมใจ (๑) 7 พ.ย. 67 (มีใบงาน ใบความรู้และบัตรคำ)