Mute
Current Time 0:00
/
Duration Time 0:00
Loaded: 0%
Progress: 0%
Stream TypeLIVE
Remaining Time -0:00
 

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 แบบจำลองเป็นการจำลองปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์เพื่อทำความเข้าใจเหตุผลหรือความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในปรากฏการณ์ การเลือกใช้สื่อเพื่อเป็นตัวแทนที่แสดงถึงแบบรูปการเปลี่ยนแปลงส่วนมืดและส่วนสว่างของรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์บนท้องฟ้าในแต่ละเดือนอาจมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ใช้ดินน้ำมันปั้น ใช้คุกกี้สอดไส้ครีม หรือกระดาษที่มีสีดำแทนส่วนมืดและสีขาวแทนส่วนสว่างของดวงจันทร์ และอาจนำดวงจันทร์ที่มีรูปร่างแตกต่างกันนี้มาวางเรียงให้ต่อกันเป็นวง เพื่อแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นแบบรูปซ้ำเดิมในแต่ละเดือน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด ว 3.1   ป.4/2 สร้างแบบจำลองที่อธิบายแบบรูปการณ์เปลี่ยนแปลงรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์และพยากรณ์รูปร่างปรากฏของดวงจันทร์

จุดประสงค์

1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- อธิบายเหตุผลของการเลือกใช้วัสดุที่เป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์บนท้องฟ้าในแบบจำลอง

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

- สร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายแบบรูปการณ์เปลี่ยนแปลงรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์

3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

-

การวัดผลและประเมินผล

1. การสังเกตจากการสรุปความรู้ที่ได้ในการทำกิจกรรม การตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็น

2. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

3. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงสมรรถนะในขณะทำกิจกรรม

4. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์

 

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 5 ระบบสุริยะและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
ชั่วโมง หน่วยย่อยที่ 1 ดวงจันทร์ของเรา
เรื่อง ดวงจันทร์มีรูปร่างปรากฏอย่างไรบ้าง (2) 14 ก.พ. 68 (มีใบงาน)