Mute
Current Time 0:00
/
Duration Time 0:00
Loaded: 0%
Progress: 0%
Stream TypeLIVE
Remaining Time -0:00
 

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 สถานการณ์ที่พบในชีวิตประจำวันอาจเป็นปัญหาที่ต้องใช้ความสามารถในการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาได้สำเร็จลุล่วงจำเป็นต้องอาศัยทั้งความรู้ ทักษะและเจตคติที่เหมาะสม การตัดสินใจวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมหากมีความรู้เกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพของวัสดุหรือสมบัติของสารในสถานะต่าง ๆ ก็จะทำให้ตัดสินใจเลือกวิธีการได้เหมาะสมยิ่งขึ้น ในกิจกรรมนี้นักเรียนจะได้ใช้ความรู้เกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพของวัสดุ หรือสมบัติของสารในสถานะต่าง ๆ  มาใช้แก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ที่พบในชีวิตประจำวันได้ เช่น การเลือกใช้วัสดุที่ไม่นำความร้อนใส่ไอศกรีมเพื่อให้ไอศกรีมเยิ้มเหลวช้าลง การเลือกใช้วัสดุที่แสงไม่สามารถผ่านได้ทำบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ควรได้รับแสง การเลือกใช้วัสดุที่มีสภาพยืดหยุ่น ทำเป็นที่ห่อผลไม้เพื่อให้ใช้งานกับผลไม้ได้หลากหลายขนาด

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด ว 2.1   ป.4/1   

เปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพด้านความแข็ง สภาพยืดหยุ่น การนำความร้อน และการนำไฟฟ้าของวัสดุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์จากการทดลองและระบุการนำสมบัติเรื่องความแข็ง สภาพยืดหยุ่น การนำความร้อน และการนำไฟฟ้าของวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำวันผ่าน กระบวนกำรออกแบบชิ้นงาน

ป.4/2   แลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่นโดยการอภิปราย เกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพของวัสดุอย่างมี เหตุผลจากการทดลอง

ป.4/3   เปรียบเทียบสมบัติของสสารทั้ง 3 สถานะ จำแนกข้อมูลที่ได้จากการสังเกต มวล การต้องการที่อยู่ รูปร่างและปริมาตรของสสาร

ป.4/4   ใช้เครื่องมือเพื่อวัดมวล และปริมาตรของ สสารทั้ง 3 สถานะ

ตัวชี้วัด ว 2.3   ป.4/1 จำแนกวัตถุเป็นตัวกลางโปร่งใส ตัวกลางโปร่งแสง และวัตถุทึบแสง จากลักษณะการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ผ่านวัตถุนั้นเป็นเกณฑ์ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

จุดประสงค์

1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- อธิบายการเลือกใช้สมบัติต่าง ๆ ของวัสดุหรือสถานะของสสารในการแก้ปัญหา

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

- เลือกวิธีนำเสนอผลการออกแบบวิธีแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้เหมาะสมกับข้อมูล

3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

การวัดผลและประเมินผล

1. การสังเกตจากการสรุปความรู้ที่ได้ในการทำกิจกรรม การตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็น

2. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

3. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม

4. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงสมรรถนะในขณะทำกิจกรรม

5. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 4 ชื่อหน่วย วัสดุและสสาร
ชั่วโมง หน่วยย่อยที่ 2 สถานะของสสาร
เรื่อง กล่องเจ้าปัญหา 4 ก.พ. 68 (มีใบงาน)