สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

สถานการณ์ในชีวิตประจำวันอาจต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับความแข็งของวัสดุและการทดสอบสมบัติความแข็งของวัสดุเพื่อเลือกใช้วัสดุให้มีความเหมาะสม

ความแข็งเป็นสมบัติทางกายภาพของวัสดุ วัสดุที่มีความแข็งจะมีความทนทานต่อการขูดขีดเมื่อมีแรงมากระทำ ทดสอบได้โดยการนำวัสดุมาขูดขีดกัน

โดยวัสดุที่มีความแข็งมากกว่าจะทำให้วัสดุที่ถูกขูดขีดเกิดรอย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด ว 2.1   ป. 4/1  เปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพด้านความแข็ง สภาพยืดหยุ่น การนำความร้อน และการนำไฟฟ้าของวัสดุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์จากการทดลองและระบุการนำสมบัติเรื่องความแข็ง

สภาพยืดหยุ่น การนำความร้อน และการนำไฟฟ้าของวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำวันผ่านกระบวนการออกแบบชิ้นงาน

                      ป.4/2   แลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่นโดยการอภิปราย เกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพของวัสดุอย่างมีเหตุผลจากการทดลอง

จุดประสงค์

1 อธิบายความหมายความแข็งของวัสดุ

2 ตั้งสมมติฐาน กำหนดและควบคุมตัวแปร และออกแบบการทดลองเกี่ยวกับความแข็งของวัสดุ         

การวัดผลและประเมินผล

1 ประเมินความรู้เรื่องความหมายความแข็งของวัสดุด้วยแบบประเมินความรู้ ความเข้าใจ

2 ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการตั้งสมมติฐาน กำหนดและควบคุมตัวแปร และออกแบบการทดลองด้วยแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

 

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 4 ชื่อหน่วย วัสดุและสสาร
ชั่วโมง หน่วยย่อยที่ 1 สมบัติทางกายภาพของวัสดุ
เรื่อง ความแข็งของวัสดุแต่ละชนิดเป็นอย่างไร (1) 26 พ.ย. 67 (มีใบงาน และใบความรู้)