สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

         สุโขทัยในระยะเริ่มแรกมีรูปแบบการปกครองที่เรียกกันในภายหลังว่า “พ่อปกครองลูก” กล่าวคือ ผู้นำมีความใกล้ชิดกับพลเมืองมากเหมือนอย่างความสัมพันธ์พ่อ - ลูก ในระยะหลังเมื่ออาณาจักรมีความซับซ้อนมากขึ้น ได้ผันมาใช้คติมหาธรรมราชาและคติเขมรบางประการ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับพลเมืองมีความเป็นทางการมากขึ้น สังเกตได้จากพระนามของกษัตริย์สุโขทัยในช่วงต้นเป็นพ่อขุน-. และครึ่งหลังไปจะเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา หรือ พญา (ไม่ใช่พระยา) แต่ไม่ว่าในยุคสมัยใด พระพุทธศาสนามีบทบาทอยู่เสมอในการสั่งสอนธรรมะที่เกี่ยวกับการปกครอง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด  

มฐ ส4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจ และธำรงความเป็นไทย

ป.4/1      อธิบายพัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัยโดยสังเขป

ป.4/3      อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญสมัยสุโขทัยที่น่าภาคภูมิใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์

จุดประสงค์

1. อธิบายลักษณะเด่นของคติทางการปกครองของสุโขทัยได้

2. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคติการปกครองของสุโขทัยครึ่งแรกและครึ่งหลัง
3. เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทยด้านการเมืองการปกครอง

การวัดผลและประเมินผล

1. การถาม-ตอบ
2. การเล่นเกม

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระ ประวัติศาสตร์
หน่วย หน่วยที่ ๔ พัฒนาการอาณาจักรสุโขทัย
ชั่วโมง พัฒนาการอาณาจักรสุโขทัย
เรื่อง การปกครองในอาณาจักรสุโขทัย 27 พ.ย. 67 (มีใบกิจกรรม)