การออกแบบแนวทาง การแก้ปัญหาทำได้หลายวิธี สำหรับแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นชิ้นงาน สามารถออกแบบเป็นภาพร่าง 2 มิติ 3 มิติ ในขณะที่แนวทางแก้ปัญหา จะออกแบบเป็นผังงาน หรือแผนภาพ และในการออกแบบนั้นจะต้องเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ กลไกไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ให้เหมาะสม
ด้านความรู้
1. เลือกวิธีการออกแบบที่สอดคล้องกับแนวทางการแก้ปัญหา
2. อธิบายเหตุผลในการเลือกใช้วัสดุ เครื่องมือ กลไกไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กับแนวทางการแก้ปัญหา
ด้านทักษะและกระบวนการ
1. กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (การระบุปัญหา) : ระบุปัญหาจากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสังเกต สัมภาษณ์จากเครื่องมือที่สร้างไว้
2. การคิดเชิงระบบ : จำแนกองค์ประกอบของปัญหาและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของปัญหา
3. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ : วิเคราะห์และประเมิน สถานการณ์ด้วยหลักฐานที่หลากหลายแล้วลงข้อสรุป
4. การสื่อสาร : สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องขณะไปสำรวจ
5. การทำงานร่วมกับผู้อื่น : ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ระบุปัญหาและข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสังเกตและสัมภาษณ์
วิธีการ
1. วัดความรู้จากการปฏิบัติและตอบคำถามในใบกิจกรรม
2. วัดทักษะจากการสังเกตระหว่างทำกิจกรรม
3. วัดคุณลักษณะจากการสังเกตพฤติกรรมจากการร่วมทำกิจกรรม การถามตอบ อภิปรายกันกายใน กลุ่ม หรือระหว่างกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การแสดงความคิดเห็น วิธีคิด เหตุผล การนำเสนอข้อมูล
4. วัดสมรรถนะ
เครื่องมือ
1. วัดความรู้จากการทำใบกิจกรรม
2. วัดทักษะและกระบวนการทางเทคโนโลยีจากการทำใบกิจกรรมและสังเกตพฤติกรรมในระหว่างการทำงาน
3. วัดคุณลักษณะจากสังเกตพฤติกรรมในระหว่างการทำงาน
4. วัดสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนจากสังเกตพฤติกรรมในระหว่างการทำงาน