สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1. ความสัมพันธ์ของภาวะสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต

2. การประเมินภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิต (ตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ)

3. สุขบัญญัติเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

พ 4.1 ม.2/4 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาวะสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาวะสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้

2. บอกวิธีการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน

ด้านทักษะกระบวนการ

1. นักเรียนสามารถประเมินสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนเองได้

2. นักเรียนสามารถเลือกปฏิบัติกิจรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อสร้างสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้อย่างเหมาะสม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. นักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้ (ให้ความร่วมมือและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้)

2. มีความซื่อสัตย์สุจริต (ทำกิจกรรมโดยให้ข้อมูลตามความเป็นจริง)

3. นักเรียนอยู่อย่างพอเพียง (ปฏิบัติตนและตัดสินใจด้วยความรอบคอบ มีเหตุผล วางแผนการเรียนการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร)

คุณลักษณะเฉพาะ

1. แสดงออกถึงการให้ความสำคัญกับการดำเนินชีวิตที่มีสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิตในชีวิตประจำวัน

การวัดผลและประเมินผล

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ สุขศึกษาและพลศึกษา
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 รู้ปฏิบัติ ทางสายกลาง
ชั่วโมง รู้ปฏิบัติทางสายกลาง
เรื่อง การสร้างสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต 8 พ.ย.67