This is a modal window.
- การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a, b, c เป็นจำนวนเต็ม โดยที่ a 1 , c
0 และเพื่อความสะดวกเราจะเรียก ax2 ว่าพจน์หน้า เรียก bx พจน์กลาง และเรียก c ว่าพจน์หลัง
- ในกรณีทั่วไป ถ้าให้ A แทนพจน์หน้า และ B แทนพจน์หลัง จะแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ได้ตามสูตร ดังนี้
A2 + 2AB + B2 = (A + B)2
A2 – 2AB + B2 = (A – B)2
- ในกรณีทั่วไป ถ้าให้ A แทนพจน์หน้า และ B แทนพจน์หลัง จะแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำลังสองได้ตามสูตร ดังนี้
A2 – B2 = (A + B)(A – B)
ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ฟังก์ชัน ลำดับและอนุกรม และนำไปใช้
ตัวชี้วัด ม.2/1 เข้าใจหลักการการดำเนินการของพหุนาม และใช้พหุนามในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
ตัวชี้วัด ม.2/2 เข้าใจและใช้การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
จุดประสงค์การเรียนรู้
นักเรียนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
วิธีการ
1. ตรวจแบบฝึกหัด 12 : การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
2. บันทึกแบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
3. บันทึกแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์
เครื่องมือ
1. ใบแบบฝึกหัด 12 : การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
2. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
3. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์