สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การหารเอกนามด้วยเอกนามนั้น มีข้อตกลงคือ เอกนามที่เป็นตัวหารต้องไม่เป็นศูนย์  ซึ่งเราสามารถหาผลหารระหว่างเอกนามกับเอกนาม

โดยนำค่าคงตัวในแต่ละเอกนามมาหารกัน  และนำตัวแปรในแต่ละเอกนามมาหารกันโดยใช้สมบัติของเลขยกกำลัง  และเมื่อได้ผลหารเป็นเอกนาม 

จะกล่าวว่าการหารนั้นเป็นการหารลงตัว  ซึ่งเป็นไปตามความสัมพันธ์ ดังนี้ ตัวหาร ×  ผลหาร =  ตัวตั้ง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ค 1.2 ม.2/1 เข้าใจหลักการการดำเนินการของพหุนาม และใช้พหุนามในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

ค 1.2 ม.2/2 เข้าใจและใช้การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

          นักเรียนสามารถหาผลหารของการหารเอกนามด้วยเอกนามโดยที่ผลหารเป็นเอกนาม

 ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

นักเรียนสามารถ

1. สื่อสารและสื่อความหมายโดยใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการหารเอกนาม

2. เชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับเอกนามและสมบัติของเลขยกกำลัง เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจการหาร

เอกนาม

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. แบบฝึกหัด 6 : การหารเอกนามด้วยเอกนาม 

2. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

                           3. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์

เครื่องมือ

1. แบบฝึกหัด 6 : การหารเอกนามด้วยเอกนาม 

2. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

                   3. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 แยกได้ ประกอบได้
ชั่วโมง แยกได้ ประกอบได้
เรื่อง กลยุทธ์ชั้นกลางสร้างผลคูณผลหาร (3) 11 มี.ค. 68 (มีแบบฝึกหัด)