สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

• ในการพิจารณาว่ารูปสามเหลี่ยมทั้งสองรูปเท่ากันทุกประการ โดยมีความสัมพันธ์แบบ ด้าน–มุม–ด้าน  มุม–ด้าน–มุม   หรือ ด้าน–ด้าน–ด้าน เราจะพิจารณาจากด้านคู่ที่มีความยาวเท่ากัน และมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากัน

• การใช้ความรู้เกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการมาช่วยแก้ปัญหาทางเรขาคณิต  กล่าวคือ  ถ้าทราบว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ  จะได้ว่า ด้านคู่ที่สมนัยกันยาวเท่ากันและมุมคู่ที่สมนัยกันมีขนาดเท่ากันด้วย  จากนั้น นำค่าที่ได้มาใช้ในการแก้ปัญหาต่อไป โดยอาจอาศัยสมบัติอื่น ๆ หรือความรู้อื่น ๆ มาช่วยแก้ปัญหาเพิ่มเติม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ค 2.2 ม.2/4 เข้าใจและใช้สมบัติของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

นักเรียนสามารถใช้ความรู้เรื่องรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ ในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา7.2.2 ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

นักเรียนสามารถ

             1. แก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ

2. สื่อสารและสื่อความหมายแนวคิดในการอธิบายการแก้ปัญหาทางเรขาคณิต  โดยใช้ความรู้เรื่องรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ

3. ให้เหตุผลประกอบแนวคิดในการหาคำตอบของปัญหาคณิตศาสตร์

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. ตรวจแบบฝึกหัด 7 : การแก้ปัญหาเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ

2. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

3. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์

เครื่องมือ

1. แบบฝึกหัด 7 : การแก้ปัญหาเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ

2. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

3. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ฝาแฝดทุกประการ
ชั่วโมง ฝาแฝดทุกประการ
เรื่อง แก้ปัญหาด้วยความเป๊ะ (1) 29 ม.ค. 68(มีแบบฝึกหัด)