สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การสะท้อนบนระนาบ เป็นการแปลงทางเรขาคณิตที่มีเส้นตรง l ที่ตรึงเส้นหนึ่งเป็นเส้นสะท้อน       แต่ละจุด P บนระนาบ จะมีจุด P′ เป็นจุดคู่สมนัยและเป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนจุด P  โดยที่    

1) ถ้าจุด P  ไม่อยู่บนเส้นสะท้อน  แล้วเส้นสะท้อนจะแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับ

2) ถ้าจุด P อยู่บนเส้นสะท้อน แล้วจุด P  และจุด P′ เป็นจุดเดียวกัน

สมบัติของการสะท้อน

1) รูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการสะท้อน สามารถทับกันได้สนิทโดยต้องพลิกรูปต้นแบบหรือพลิกภาพที่ได้จากการสะท้อนอย่างหนึ่งอย่างใด หรือกล่าวว่ารูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการสะท้อนเท่ากันทุกประการ

2) จุดที่สมนัยกันแต่ละคู่จะอยู่ห่างจากเส้นสะท้อนเท่ากัน หรือเส้นสะท้อนจะแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดที่สมนัยกันบนรูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการสะท้อน

3) ส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดที่สมนัยกันบนรูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการสะท้อนจะขนานกัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด ค 2.2 ม.2/3

เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

จุดประสงค์การเรียนรู้

นักเรียนสามารถบอกพิกัดของจุดบนภาพที่ได้จากการสะท้อนรูปต้นแบบในระบบพิกัดฉาก

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. ตรวจแบบฝึกหัด 3 : การสะท้อนบนระบบพิกัดฉาก

2. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

3. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์

เครื่องมือ

1. แบบฝึกหัด 3 : การสะท้อนบนระบบพิกัดฉาก

2. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

3. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เสน่ห์ไทยด้วยการแปลง
ชั่วโมง เสน่ห์ไทยด้วยการแปลง
เรื่อง พลิกไปได้สะท้อน (3) 24 ธ.ค. 67 (มีแบบฝึกหัด บัตรภาพ)