เราสามารถใช้การแยกตัวประกอบของจำนวนมาช่วยในการพิจารณาว่า จำนวนใดที่ยกกำลังสองแล้วได้จำนวนที่ต้องการหารากที่สองหรือพิจารณาขอบเขตของคำตอบและสังเกตหลักหน่วยที่เป็นไปได้แล้วตรวจสอบว่า จำนวนที่คาดการณ์นั้นเป็นรากที่สองหรือไม่ โดยการนำมายกกำลังสอง
ความแตกต่างระหว่างรากที่สองและกรณฑ์ที่สอง คือรากที่สองของจำนวนจริงบวกใด ๆ จะมีสองราก ได้แก่ รากที่สองที่เป็นบวก และรากที่สองที่เป็นลบ แต่สำหรับกรณฑ์ที่สองจะมีคำตอบเดียว นั่นก็คือ รากที่สองที่เป็นบวก
ตัวชี้วัด
ค 1.1 ม.2/2 เข้าใจจำนวนจริงและความสัมพันธ์ของจำนวนจริง และใช้สมบัติของจำนวนจริงในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
นักเรียนสามารถหารากที่สองของจำนวนจริงบวกใด ๆ หรือศูนย์ โดยใช้บทนิยามของรากที่สองหรือการแยกตัวประกอบ
ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
นักเรียนสามารถสื่อสารและสื่อความหมายโดยใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อแสดงแนวคิดในการหารากที่สอง
วิธีการ
1. ตรวจการทำแบบฝึกหัด 8 : การหารากที่สองและกรณฑ์ที่สอง
2. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
3. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์
เครื่องมือ
1. แบบฝึกหัด 8 : การหารากที่สองและกรณฑ์ที่สอง
2. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
3. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์