สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

       ในสมัยธนบุรี ยังมีโครงสร้างสังคมที่เหมือนกับสมัยอยุธยากล่าวคือมีลักษณะเป็นสังคมศักดินา เพราะได้มี การตรากฎหมายแจกแจงให้เห็นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้คนในสังคมตามฐานะของตน ทำให้สังคมไทยดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและเจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ทั้งยังเป็นสมัยแห่งการบูรณะศาสนสถานต่างๆ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ส. 4.3 ม.2/1 วิเคราะห์พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยาและธนบุรีในด้านต่างๆ

ส. 4.3 ม.2/2 วิเคราะห์ปัจจัย ที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยา

ส. 4.3 ม.2/3 ระบุภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยาและธนบุรี และอิทธิพลของภูมิปัญญาดังกล่าวต่อ การพัฒนาชาติไทยในยุคต่อมา

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

อธิบายพัฒนาการด้านสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอาณาจักรธนบุรีได้

ด้านทักษะและกระบวนการ

1. วิเคราะห์พัฒนาการด้านสังคมของอาณาจักรธนบุรีที่มีต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมได้

2. อภิปรายเกี่ยวกับลักษณะชนชั้นของผู้คนในสังคมสมัยธนบุรีได้

ด้านคุณลักษณะ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

2. ใฝ่เรียนรู้

คุณลักษณะเฉพาะ

1. เห็นคุณค่าและกระตือรือร้นต่อการปฏิบัติกิจกรรมอภิปรายร่วมกัน

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. การตอบคำถาม

2. การอภิปราย

เครื่องมือ

1. คำถาม

2. แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 19

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ประวัติศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เจาะเวลาธนบุรี
ชั่วโมง เจาะเวลาธนบุรี
เรื่อง พัฒนาการทางด้านสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 27 มี.ค. 68 (มีใบกิจกรรม และใบความรู้)