ความขัดแย้ง ถือเป็นเรื่องปกติของสังคมมนุษย์ที่จะต้องมีความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อ การรับรู้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ความแตกต่างของเป้าหมายแต่ละบุคคล พฤติกรรมส่วนบุคคล การปฏิบัติตามหรือการฝ่าฝืนกฎระเบียบของสังคม เป็นต้น ความขัดแย้งอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่เราสามารถบริหารและจัดการเพื่อให้ทุกภาคส่วนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
7.1 ตัวชี้วัด
ส 2.1 ม.1/4 แสดงออกถึงการเคารพในสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
อธิบายความหมายของคำว่าความขัดแย้งได้
ด้านทักษะกระบวนการ
นำเสนอกรณีตัวอย่างความขัดแย้งและผลกระทบที่เกิดขึ้นภายในชุมชนได้
ด้านคุณลักษณะ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
คุณลักษณะเฉพาะ
ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในชุมชนผ่านการทำกิจกรรม
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
8. วิธีการวัด/ประเมินผล
8.1 การตอบคำถาม
8.2 การตรวจผลงาน
9. เครื่องมือวัด/ประเมินผล
9.1 คำถามนำ
9.2 แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 56
9.3 เกณฑ์คุณภาพการประเมิน (Rubric)